การออกแบบและสร้างระบบควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส ด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์สั่งการระยะไกลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และทัชสกรีน

Main Article Content

คมกริช แสงสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพระบบควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส ด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์สั่งการระยะไกลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งและทัชสกรีน เพื่อสร้างสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม รหัส 30104-2006 เรื่องระบบเครือข่าย และเพื่อหาความพึงพอใจระบบควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส ด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์สั่งการระยะไกลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งและทัชสกรีน วิธีดำเนินการวิจัย ออกแบบวางอุปกรณ์หน้าตู้และภายในตู้ควบคุมโดยใช้โปรแกรมออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรมควบคุมโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ด้วยโปรแกรม MELSOFT Series GX Work 2 ควบคุมทัชสกรีนด้วยโปรแกรม Sktoool และทำการเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน Smart life เข้ากับตัวบอร์ด Smart Switch เพื่อควบคุมระยะไกลผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งอินเวอร์เตอร์มีขนาด 0.1 kw มอเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบมีขนาด 0.20 kw  ผลการวิจัยพบว่า การหมุน (FWD) และการกลับทางหมุน (RWD) ความถี่ที่ 10 Hz, 25 Hz, 30 Hz และ 35 Hz จะมีกระแสที่โหลดและแรงดันไม่แตกต่างกันมาก การสั่งผ่านแอปพลิเคชัน Smart life  ทัชกรีน และโทรศัพท์มือถือ  ระบบสามารถสั่งการทำงานได้ตามเงื่อนไข ช่วงโอเวอร์โหลดของอินเวอร์เตอร์จะอยู่ที่ความถี่ 35 Hz ขึ้นไป ความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับที่ดี (equation= 4.20)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ ตันชีวะวงศ์, แมคคาทรอนิกส์เบื้องต้น, สำนักพิมพ์ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), หน้า 147 – 174, 2522.

สิทธิพงศ์ ยุวจิตติ, การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าและการโปรแกรม, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา, หน้า 83 – 96, 2539.

สุพรรณ กุลพาณิชย์, Programmable control เทคนิคและการใช้งานเบื้องต้น, บริษัทออมร่อนตรีศักดิ์, หน้า 56 - 89, 2533.

สรศักดิ์ คำภูและคณะ, “การออกแบบและสร้างชุดทดลองควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส ด้วยแมกเนติกคอนแทคเตอร์และพีแอลซี ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์”, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต แขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม, 2564.

นพรัตน์ งามพ้อง, อนุวัฒน์ คำน้อยและคมกริช แสงสุรินทร์, “ตู้ควบคุมและแจ้งเตือนกระแสไฟฟ้าเกินมอเตอร์ไฟฟ้าแบบออนไลน์”, การประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาชีวศึกษา ครั้งที่ 4,หน้า 315-323, 2563.

คมกริช แสงสุรินทร์, ธนกฤต จีระยาและวีระเดช จองสุรียภาส, “การออกแบบและสร้างเครื่องวัดบันทึกข้อมูลทางไฟฟ้าแสดงผลผ่านระบบไร้สาย”, การประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาชีวศึกษา ครั้งที่ 4, หน้า 170-179, 2563.

คมกริช แสงสุรินทร์, บัญญัติ พรมเลขและวิภพ ใจแข็ง, “การปรับจูนค่าแบบพีไอที่เหมาะสมที่สุดเพื่อควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบลูปปิด”, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11, หน้า 564-570, 2562.

คมกริช แสงสุรินทร์, ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม, สำนักพิมพ์: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, หน้า 63, 2560.