บทความวิจัย เครื่องควบคุมระบบการจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร สื่อสารระยะไกล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสร้างเครื่องควบคุมระบบการจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร สื่อสารระยะไกลมีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องควบคุมการจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร สื่อสารระยะไกล เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องควบคุมระบบการจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร สื่อสารระยะไกล เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งการทดสอบเป็นบล็อกไดอะแกรม 3 ส่วน คือ 1.การทดสอบรูปแบบการเชื่อมต่อ I/O Modbus Protocol กับโปรแกรม LabVIEW 2.การส่ง-รับสัญญาณจากการออกแบบระบบควบคุมบนโปรแกรม LabVIEW 3.การทดสอบโปรแกรม Lab VIEW ทำการบันทึกเบื้องหลังการทำงานของโปรแกรมลงในตาราง Excel และผลการประเมินทดสอบทั้ง 3 ส่วนไม่พบข้อผิดพลาดในชุดคำสั่งและการทำงานของระบบ ทำงานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้ง 3 ส่วน และในการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งาน มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26 ) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ได้แก่ เทคนิคการออกแบบระบบทำงานวัสดุ เทคนิคการออกแบบจากผลทดสอบทั้งหมด สรุปได้ว่าสร้างเครื่องควบคุมระบบการจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร สื่อสารระยะไกล มีประสิทธิภาพและทำงานได้ตามวัตถุประสงค์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน.(2566,มกราคม-มิถุนายน).โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี.เข้าถึงได้จาก http://www.bspc.ac.th/files/210609088520137_23061311112046.pdf
ชัชวาล พรพัฒน์กุล และธวัชชัย จิตต์สนธิ์. 2556. การควบคุมระดับอัตราการไหลของน้ำแบบคาสเคดด้วยระบบสื่อสารแบบฟิลด์บัส.การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยราชมงคล. เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม
เข้าถึงได้จากhttps://opacimages.lib.kmitl.ac.th/medias/pdf/09017940.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)กระทรวงศึกษาธิการ.โปรแกรม,LabVIEW,ควบคุม,อุณหภูมิ. เข้าถึงได้จากhttps://www.scimath.org/project/item/5609-labview-5609
สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.การพัฒนาและการประยุกต์ใช้ระบบดาต้าแอกควิซิชั่นต้นทุนต่ำด้วยเข้าถึงได้จาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/7363
นิกร ชัยเจริญ. (2557). การศึกษาการตรวจวัดระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยจําลอง ระบบย่อส่วนเพื่อประยุกต์ใช้ในพื้นที่ห่างไกล.เข้าถึงได้จากhttps://ph02.tci-thaijo.org › article ›
SUPPORT THAIEASYELEC.( 2558).LabVIEW with ARM9 (base on S3C2440). เข้าถึงได้https://blog.thaieasyelec.com/labview-with-arm9-based-on-s3c2440/