การศึกษาขนาดและอัตราส่วนผสมแกลบกับไม้มะม่วงที่มีผลต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อน

Main Article Content

ลือพงษ์ ลือนาม
ถาวร ราชรองเมือง

บทคัดย่อ

สืบเนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ดังนั้น จึงมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทั้งแกลบ            ที่เหลือทิ้งจากกระบวนการสีข้าวและไม้มะม่วงที่เหลือทิ้งจากการตัดแต่งมาทำเป็นเชื้อเพลิงภายในเตาชีวมวล ด้วยการทดลองต้มน้ำให้เดือดการเป็นไอ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเชิงความร้อนในการเผาไหม้ จากไม้มะม่วงผสมแกลบ สำหรับเป็นพลังงานทดแทนใช้ในครัวเรือนและเป็นวัสดุที่มีอยู่ในชุมชน ผลศึกษาพบว่า แกลบผสมไม้มะม่วงอัตราส่วน 1:1 เป็นเชื้อเพลิงในเตาชีวมวลได้ โดยไม้มะม่วงเส้นผ่านศูนย์กลาย 1 เซนติเมตร ที่มีความยาวขนาด 1 3 และ           5 เซนติเมตร สามารถต้มน้ำให้ระเหยกลายเป็นไอได้ และมีค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนการเผาไหม้ 7.82 7.50 และ 7.75 ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ         (P>0.05) เพื่อให้ทราบอัตราส่วนผสมที่เหมาะสม จึงได้กำหนดอัตราส่วนแกลบต่อไม้มะม่วง 1:1 1:2 และ 1:3 พบว่า อัตราส่วนผสม 1:1 และ 1:2  มีค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนใกล้เคียงกัน 6.86 และ 7.73   ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) สำหรับอัตราส่วนผสมแกลบต่อไม้มะม่วง 1:3 มีค่าประสิทธิภาพ  เชิง ความร้อนต่ำที่สุด 5.32 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ซึ่งทั้งสามอัตราส่วนสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตา    ชีวมวลได้ โดยอัตราส่วนแกลบต่อไม้มะม่วงที่เหมาะสมคือ 1:2 มีค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติศักดิ์ ทองมีทิพย์, “พัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศไทย: ในมิติด้านการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต”. วารสารพัฒนศาสตร์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1, หน้า 133-162, 2564.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, “บทความเศรษฐกิจการเกษตร”, วารสารเศรษฐกิจการเกษตร, ปีที่ 68 ฉบับที่ 794, หน้า 6, 2566.

ชัยสิทธิ์ ทองจู, “การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร”, เกษตรอภิรมย์, หน้า 44-45, 2563.

วาโย ตันติปาลกุล, “แกลบดิบ แกลบดำ (ถ่านแกลบ ) ขี้เถ้าแกลบ ( แกลบขาว-เทา )”, วาโย ฟาร์ม, เข้าถึงได้จาก https://farm.vayo.co.th/blog/husk/. (เข้าถึงเมื่อ : 20 พฤษภาคม 2566).

อัจฉรา ทองสี, วัสดุปลูกจากฟางข้าวและแกลบ, (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2563.

กนกวรรณ กันทะกัน , “การพัฒนาดินปั้นเถ้าแกลบสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์” , ปริญญาคหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2557.

สิงหเดช แตงจวง และคณะ, “แผ่นฉนวนความร้อนจากแกลบและขี้เลื่อยโดยใช้น้ำยางพาราเป็นตัวประสาน”,วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, หน้า 51-68, 2566.

ฉลอง ปะลาชิตัง และเรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์, “การทนไฟของ เสาคอนกรีตเสริมเหล็กผสมเถ้าแกลบบดละเอียด”, วารสารวิจัยรำไพพรรณี, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1, หน้า 20-31, 2562.

พิพัฒน์ สมภาร และพรชัย อิ่มกะดี, “การใช้วัสดุรองพื้นเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพไก่ชนที่เลี้ยงในสุ่มไม้ไผ่”, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 23, ฉบับที่ 5, หน้า 825-832, 2558.

พีรพงษ์ เชาวนพงษ์ และคณะ, ศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติของไบโอชาร์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิตของดิน, (รายงาน ผลการวิจัย), กรุงเทพฯ: กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, 2556.

พัฒนา นรมาศ และ วัฒนา สวรรยาธิปัติ, การปลูกมะม่วง, กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตรกองเกษตรสัมพันธ์, ม.ป.ป.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, “สถิติการเกษตรของประเทศไทย”, เข้าถึงได้จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/fruit2/mango.pdf. (เข้าถึงเมื่อ : 20 พฤษภาคม 2566).

มนตรี นันทสิทธิ์, การปลูกมะม่วง, กรุงเทพฯ, 2556.

IBM Corp, “Released IBM SPSS Statistics for Windows”, Version 28.0. Armonk, NY: IBM Corp, 2021.