การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร : กรณีศึกษาบริษัทผลิตกล่องกระดาษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร วิธีการรวบรวมข้อมูลค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) พบว่า เครื่องพิมพ์กล่องกระดาษ มีค่าเฉลี่ย 27.64% เครื่องสับร่องกระดาษ มีค่าเฉลี่ย 36.96% และเครื่องไดคัท มีค่าเฉลี่ย 20.83% ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยผังก้างปลาจึงสรุปแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องพิมพ์กล่องกระดาษ คือ จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานและอบรมให้พนักงานเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อลดเวลาในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ เครื่องสับร่องกระดาษ คือ จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานและอบรมให้พนักงานเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อลดเวลาในการตั้งระยะห่างของร่องสับ และเครื่องไดคัท คือจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานและอบรมให้พนักงานเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
Tsarouhas, P. H. (2013). Evaluation of overall equipment effectiveness in the beverage industry: a case study. International Journal of Production Research, 51(2), 515-523.
Dewi, S., Alhilman, J., & Atmaji, F. T. D. (2020). Evaluation of effectiveness and cost of machine losses using Overall Equipment Effectiveness (OEE) and Overall Equipment Cost Loss (OECL) methods, a case study on Toshiba CNC Machine. In IOP Conference Series: Materials Science and Engineering , 847(1), p. 012020. IOP Publishing.
Borris S. (2006). Total productive maintenance (McGraw-Hill New York)
เฉลิมชาติ ธีระวิริยะ. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยโปรแกรม Minitab ฉบับสมบูรณ์ : กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย.
จารุเดช หิรัญวัฒนสุข, อริย บุญดำเนิน, และนิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์. (2561). การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องพิมพ์ 2 สี ใน กระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก. Engineering Journal of Research and Development, 29(1), 45-52.
ธวัชชัย บัวระภา, ศักดิ์ชาย รักการ และพจนีย์ ศรีวิเชียร. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักรใน กระบวนการผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องดื่ม. วารสารวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี มทร. สุวรรณภูมิ, 5(พิเศษ), 23-33.
อารดา โพธิ์อ่อน และฤดี มาสุจันท์. (2562). การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิต สายไฟตัวนำทองแดง : กรณีศึกษา บริษัทผลิต สาย ไฟ. Ladkrabang Engineering Journal, 36(2), 1-8.
อุเทน เฉลยโฉม, สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์ และระพี กาญจนะ. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทอดโดยเทคนิค การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน กรณีศึกษา โรงงานอาหารกึ่งสำเร็จรูป. Journal of Engineering, RMUTT, 13(2), 21-33.
ภาคินัย มนประณีต และเกรียงไกร ไวยกาญจน์t. การปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรสำคัญในกระบวนการผลิต อาหารทะเลแปรรูป. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2555, 2101-2108