การศึกษาและประยุกต์ใช้งาน ESP32 จำลองประตูอัจฉริยะตรวจจับใบหน้าเพื่อความปลอดภัย

Main Article Content

ธนพล แก้วคำแจ้ง
ประวิทย์ บุรินนิตย์
กัมปนาท บุญคง
ณัฐพล บูระนะเวช
ธีรพัฒน์ เสมเหลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาและประยุกต์ใช้งาน ESP32 จำลองประตูอัจฉริยะตรวจจับใบหน้าเพื่อความปลอดภัยได้รับการดำเนินการโดยคณะผู้วิจัยที่ศึกษาและออกแบบระบบยืนยันตัวตนที่มีประสิทธิภาพ ระบบนี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 เพื่อควบคุมการปลดล็อกประตู มีการรวมระบบการยืนยันตัวตนหลายวิธี ได้แก่ การสแกน RFID Tag, การสแกนลายนิ้วมือผ่านเซ็นเซอร์, และการใช้หน้าจอ TFT LCD เพื่อให้ผู้ใช้สามารถป้อนรหัสผ่านได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการยืนยันสิทธิ์อย่างถูกต้องก่อนการปลดล็อกประตูขนาดจำลอง นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกในการใช้ ESP32-CAM ที่มีกล้องตรวจจับการเคลื่อนไหว (HC-SR50) เพื่อถ่ายภาพใบหน้าของผู้ที่มาใกล้ประตู และทำการแจ้งเตือนผ่าน LINE Notify ผลการทดสอบระบบได้รับความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ประกอบด้วยบุคคลจำนวน 30 คน ซึ่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะถูกวิเคราะห์เพื่อหาค่าเฉลี่ย (equation ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของความพึงพอใจในระบบนี้ ในที่สุดเพื่อให้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงระบบต่อไป ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อการใช้งานชุดจำลองประตูอัจฉริยะที่มีการตรวจจับใบหน้าเพื่อความปลอดภัยอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย equation=4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ S.D. = 0.69 จากผลการวิจัยนี้ สามารถสรุปได้ว่าชุดจำลองประตูอัจฉริยะที่มีการตรวจจับใบหน้าเพื่อความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวังไว้ในเบื้องต้น การวิจัยนี้มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง เช่น การใช้งานในระบบรักษาความปลอดภัยของอาคาร สถานที่ทำงาน หรือสถานที่สาธารณะ โดยการปรับปรุงระบบ ยืนยันตัวตนที่สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการพัฒนาให้ระบบมีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายและเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี IoTs อื่น ๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

How to Cite
แก้วคำแจ้ง ธ. ., บุรินนิตย์ . ป. ., บุญคง ก. ., บูระนะเวช ณ. ., & เสมเหลา ธ. . (2024). การศึกษาและประยุกต์ใช้งาน ESP32 จำลองประตูอัจฉริยะตรวจจับใบหน้าเพื่อความปลอดภัย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 8(2), 30–38. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/274692
บท
บทความวิจัย

References

บริษัท กรีนเวย์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด, ม.ป.ป, การป้องกันภัยจากการโจรกรรมในบ้าน, https://thonhome.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538838766&Ntype=6, สืบค้น 20 มกราคม 2567.

อินทิพร ห้วยหงส์ทอง, วิภาวี ร่ารื่น, เจษฎา สายใจ, และ ศศิรมย์ พานทอง. (2566), ระบบกล้องรักษาความปลอดภัยพร้อมแจ้งเตือนผ่านเทเลแกรม, วารสารการวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ โดยสมาคม ECTI, ปีที่ 3, (2), หน้า. 36-43.

รณชัย มรกตศรีวรรณ, วชิรปัญญา ปัญญาว่อง, และสาคร แถวโนนงิ้ว. (2566), เครื่องชั่งน้ำหนักและนับจำนวนอุปกรณ์แสดงผลอัตโนมัติ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, ปีที่ 2, (2), หน้า. 1-11. doi.org/10.55674/snrujiti.v2i2.250017

พุฒิพงศ์ เกิดพิพัฒน์, อดิศร ศิริคำม, เจษฎา ก้อนแพง, ณัฐพงษ์ อินทรวิเศษ, และขอบคุณ ไชยวงศ์. (2023), กล่องจดหมายแบบไร้กุญแจบนพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, ปีที่ 5, (2), หน้า. 44–57.

ธนากร นําหอมจันทร์. (2565), การพัฒนาระบบการวัดระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สําหรับการศึกษาวิจัยโดยใช้แพลตฟอร์มเน็ตพาย. วารสารทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, เล่มที่ 12, (35), หน้า. 32-49.

จิระพจน์ ประพิณ, ทวีศักดิ์ แพงวงษ์, กลยุทธ ทองทิพย์, และรุ่งเรือง เพ็ญกุลกิจ. (2565), อุปกรณ์เตือนระยะการจอดรถติดกับรถผู้พิการผ่านสมาร์ทโฟน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 6, (1), หน้า. 129-137.

พิสิฐ สอนละ, และวารินี วีระสินธุ. (2566), การพัฒนาชุดฝกอบรมเครื่องตอประสานผูใชสําหรับระบบควบคุม ฟาร์ม. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา. ปีที่ 15, (1), หน้า. 40-48.

ชนิดา ยุบลไสย์, วิศวะ กุลนะ, และ คมกฤษณ์ ชูเรือง. (2564), ระบบการวัดและบันทึกค่า pH ของดินโดยใช้ Internet of Things (IoT). วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. ปีที่ 1, (1), หน้า. 1-7.

เจริญ รุ่งกลิ่นและคณะ, 2564, การพัฒนาระบบเปิดประตูด้วยระบบจดจำใบหน้า, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จิรศักดิ์ หมวดโพธิ์กลาง, และวัชรพงศ์ เกตุปาน. (2020). อุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิบุคคลพร้อมด้วยระบบจดจำและบันทึกใบหน้าอัตโนมัติ, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ, ปีที่16,(2), หน้า. 45–55.

ธนพล แก้วคำแจ้ง, ธีรพงษ์ จันตะเสน, สุพรรณ ประทุมชัย, วกร สีสัมฤทธิ์, แล วิทยา บุตรโยธี. (2566), การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสร้างหุ่นยนต์ พื้นฐานที่ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้สัญญาณบูลทูธเพื่อศึกษาและนำไปใช้งานในการสอน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมและการวิจัยอาชีวศึกษา, สถาบัน

อาชีวศึกษาภาคตะวันออกฉียงเหนือ 1, ปีที่ 7, (1), หน้า. 36-45.