เจตคติการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุและพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ภาคจิตวิทยา

Main Article Content

อลิสา แก้วจรัสวิไล
ขวัญฤดี แซ่ลู่
พีรยา สิงหเดชวีรชัย
เอมอร ขลิบทองรอด
อาทิตยา ทองศรี
งามลมัย ผิวเหลือง
เฉลิมขวัญ สิงห์วี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับเจตคติการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุและระดับพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมของนิสิตปริญญาตรีภาคจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) . เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมของนิสิตปริญญาตรี ภาคจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีมีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน  และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุกับพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมของนิสิตปริญญาตรี ภาคจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 500 คน ใช้การสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test , ANOVA และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีเจตคติการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุและพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมอยู่ในระดับสูง 2) นิสิตที่มีระดับชั้นปี และ การทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุต่างกันมีพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่นิสิตที่มี เพศ ลักษณะที่อยู่อาศัย แตกต่างกันมีพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมไม่แตกต่างกัน และ 3) เจตคติการเห็นคุณค่าผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ตั้งชลทิพย์และคณะ. (2553). คุณค่าผู้สูงอายุไทย : มุมมองจากคนสองวัย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2558). ทัศนคติและพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่อผู้สูงอายุของนิสิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Journal of Social Work, 23(2),55-78.

ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(2): 161-173.

บุษยา วงษ์ชวลิตกุล. (2559). ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุกรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(2),74-90.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). แรงงานวัยเกษียณจะขยายอายุการทำงานมากขึ้น-เปิดสถิติการจ้างงานผู้สูงอายุทั่วโลก สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก https://www.prachachat.net/breaking-news/news-106357.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2560). บริการท้องถิ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานวิชาการ. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563,จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/jul2561-1.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2557). ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2557. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://www.nesdb.go.th /temp_social/ data/SocialOutlookQ1-2014.pdf.

อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2553). การช่วยเหลือสนับสนุนระหว่างรุ่นพ่อแม่และรุ่นลูกศึกษากรณีพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี. ในสุชาดา ทวีสิทธิ์ และสวรัย บุณมานนท์ (บรรณาธิการ) ประชากรและสังคม 2553 คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย, 129-146. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

Allport, G. W. (1935). Attitudes. In Handbook of social psychology. Edited by C. Murchison, Worcester, MA: Clark Univ. Press.

Baumeister, R. F., & Bushman, B. J., (2011). Social Psychology and Human Nature. (2nd ed.). Belmont, CA : Wadsworth

Dovidio, J. F., Piliavin, J. A., Schroeder, D. A., & Penner, L. A. (2017). The social psychology of prosocial behavior. Psychology Press.

Eisenberg, N., Spinrad, T. L., & Knafo-Noam, A. (2015). Prosocial development. In : Lamb ME, ed. Handbook of child psychology and developmental science. (7th ed.). Hoboken, NJ : Wiley, 610-656.

Mikulincer, Mario., & Shaver, Phillip R. (2010). Prosocial Motives, Emotions,and Behavior: The Better Angels ofOur Nature. USA: United Book Press.

Mikulincer, Mario., & Shaver, Phillip R. (2010). Prosocial Motives, Emotions,and Behavior: The Better Angels ofOur Nature. USA: United Book Press.

Miller, P., Bernzweg, J., Eisenberg, N., &Fabes, R. (1991). The development and socialization of prosocialbehavior. In R. Hinde & J. Groebel(eds.) Cooperation and Prosocial Behavior.Cambridge: CambridgeUniversity Press. p. 54.

Rushton, J. Philippe. (1980). Altruism, Socialization, and Society. New Jersey: Pretice-Hall.

Vanindananda, N. (2009). The Effectiveness of Psychological and Child –Rearing Skill Training on Mother’ Supervision and Adolescents’ Academic Responsibility: The Preliminary