คุณภาพชีวิตการทำงานภายหลังการปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่ง: กรณีศึกษา ข้าราชการสำนักงานปลัด กระทรวงยุติธรรม
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ สำนักงานปลัด กระทรวงยุติธรรม ในด้านค่าตอบแทน ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัย ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของข้าราชการ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบเชิงพรรณนา (Descriptive) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล
ผลการวิจัยเชิงพรรณนา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ สำนักงานปลัด กระทรวงยุติธรรม ได้แก่ (1) ด้านค่าตอบแทน ประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร ความท้าทายและความรับผิดชอบ และความยึดมั่นผูกพัน (2) สภาพการทำงานที่มีความปลอดภัย ประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร ความท้าทายและความรับผิดชอบ (3) ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร ความท้าทายและความรับผิดชอบ การได้รับการยอมรับ และความยึดมั่นผูกพัน (4) การพัฒนาความสามารถของข้าราชการ ประกอบด้วย โครงสร้างองค์การ มาตรฐานการปฏิบัติงาน ความท้าทายและความรับผิดชอบ การได้รับการยอมรับ การสนับสนุน และความยึดมั่นผูกพัน (5) ความสัมพันธ์ทางสังคม ประกอบด้วย โครงสร้างองค์การ การสนับสนุน และความยึดมั่นผูกพัน (6) ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ประกอบด้วย ความท้าทายและความรับผิดชอบ และความยึดมั่นผูกพัน (7) ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม ประกอบด้วย โครงสร้างองค์การ การได้รับการยอมรับ และความยึดมั่นผูกพัน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีความต้องการของ Maslow และทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยชิ้นนี้ คือ คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักงานปลัด กระทรวงยุติธรรม ในด้านค่าตอบแทน ควรมีการศึกษารูปแบบและความเป็นไปได้ ในการจ่ายค่าตอบแทนที่ทำให้ข้าราชการสมควรจะได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อให้ข้าราชการสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอุทิศตน เสียสละ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของหน่วยงาน
QUALITY OF WORK LIFE AFTER POSITION CLASSIFICATION: A CASE STUDY OF THE OFFICE OF PERMANENT SECRETARY OF JUSTICE
This research is to study factors resulting to the quality of work life of the government officials of the Office of Permanent Secretary of Justice in areas of compensation, safe working condition, work progress and security, capability development of the government officials, social relationship, balance between work life and private life and social benefit work under Civil Service Regulation Act, B.E. 2551 by using descriptive research. The questionnaire is used as the tool in collecting data.
From the research, it is found that factors influencing the quality of work life of the government officials of the Office of Permanent Secretary of Justice are: (1) compensation comprising organization structure, challenge and responsibility and commitment; (2) safe working condition comprising organization structure, challenge and responsibility; (3) work progress and security comprising organization structure, challenge and responsibility, being accepted and commitment; (4) capability development of the government officials comprising organization structure, code of conduct, challenge and responsibility, being accepted, promotion and commitment; (5) social relationship comprising organization structure, promotion and commitment; (6) balance between work life and private life comprising challenge and responsibility and commitment; (7) social benefit work comprising organization structure, being accepted and commitment. The factors conform to the Need Theories of Maslow and Two-Factor Theory of Herzberg
This research recommends that for the quality of work life of the government officials of the Office of Permanent Secretary of Justice, there must be the study on pattern and possibility on the payment of the compensation which the government officials actually deserve to receive in order that they can work effectively and dedicate and devote themselves for the common benefit of the organization.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์