ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสนใจของนักลงทุนทั่วไปในการเข้ามาลงทุน ในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสนใจของนักลงทุนทั่วไปในการเข้ามาลงทุนในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบที่ส่งเสริมและเพิ่มระดับความสนใจของนักลงทุนทั่วไปในการเข้ามาลงทุนในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ระเบียบวิธีวิจัย ใช้แนวทางการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักลงทุนทั่วไปที่รู้จักธุรกรรม SBL จำนวน 400 คน ซึ่งเป็นขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่พอดีตามเกณฑ์ของทาโร่ยามาเน่ ส่วนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เป็นผู้ที่มีความรู้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกรรม SBL และมีความเกี่ยวข้องกับธุรกรรม SBL และใช้แบบสอบถามกับการสัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสนใจของนักลงทุนทั่วไป ในการเข้ามาลงทุนในธุรกรรม SBL โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์และแหล่งข้อมูล ปัจจัยด้านความรู้และความเข้าใจในธุรกรรม SBL ปัจจัยด้านกฎระเบียบข้อบังคับในธุรกรรม SBL และปัจจัยด้านสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสนใจ ของนักลงทุนทั่วไปในการเข้ามาลงทุนในธุรกรรม SBL สอดคล้องกับความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และรูปแบบที่ส่งเสริมและเพิ่มระดับความสนใจของนักลงทุนทั่วไปในการเข้ามาลงทุนในธุรกรรม SBL มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ ด้านการประชาสัมพันธ์และแหล่งข้อมูลของธุรกรรม SBL จะต้องทำการประชาสัมพันธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงตอบโต้ และต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง ด้านความรู้และความเข้าใจของนักลงทุนบริษัทหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ จะต้องมีการส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ พัฒนาเนื้อหาความรู้และแหล่งความรู้รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ ด้านกฎระเบียบข้อบังคับ ควรผ่อนปรนกฎระเบียบข้อบังคับที่เอื้อประโยชน์ ต่อนักลงทุนทั่วไปและทำให้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องมีมาตรฐานเดียวกันในแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้ง เพิ่มหลักทรัพย์ที่สามารถทำธุรกรรม SBL และเพิ่มปริมาณหุ้นที่ให้ยืม ด้านความพร้อมของสถาบันทางการเงินควรให้ความรู้ เพิ่มแรงจูงใจแก่บุคลลากรในสถาบันการเงินรวมถึงพัฒนาระบบให้นักลงทุนสามารถใช้งานได้ง่าย
FACTORS INFLUENCING THE INVESTORS’ INTEREST IN SECURITIES BORROWING AND LENDING (SBL)
The objectives of this research are to study factors that influence the interest level of investors in SBL and to build pattern that influences the interest level of investors in SBL. Both quantitative and qualitative methodologies are applied in this research. Sample size from Taro Yamane’s criterion is 400 investors who are aware of SBL and 9 specialists who have extensive knowledge and understanding of SBL. Mean, average, standard deviation and multiple regressions are analyzed from questionnaires and interviews. Marketing communication and data source, investor’s understanding and knowledge in SBL transactions, regulations on SBL transactions and readiness of financial institution are factors that influence the interest level of investors in SBL according with viewpoint of specialists. Pattern effecting to investor’s interest on SBL transactions investment consists of 4 components. Proactive, reactive and continuous MPR should be in marketing communication. Knowledge access, data source development and knowledge sharing should be supported for investors. It is essential to relieve restricted regulations for investors, standardize rule in every broker companies. Moreover, increasing quantity of stock for SBL transaction and number stocks for borrowing are also necessary. Readiness of financial institution should be ready to educate officer and increase motivation officer in financial institution at the same time development of system should be friendly use to investors.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์