รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพฤฒพลัง: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

จำรูญ บริสุทธิ์
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
บัญญัติ ยงย่วน
ผดุงชัย ภู่พัฒน์

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาภาวะพฤฒพลัง 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาพฤฒพลัง และ 3) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาภาวะพฤฒพลังเทศบาลตำบลปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณคือผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลปากแพรกจำนวน 331 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนกลุ่มเป้าหมายสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วยผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลปากแพรกจำนวน 50 คน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวทางการสนทนากลุ่มหลังการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้สร้างและประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ โดยการระดมสมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลที่ที่สำคัญในชุมชนจำนวน 17 คน 2) คณะกรรมการประเมิน จำนวน 8 คน

ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

1) ด้านภาวะพฤฒพลัง ผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลปากแพรกส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพกาย ได้แก่ความดันโลหิตสูง ปวดตามข้อ เบาหวาน ในด้านสุขภาพจิต และส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจและอารมณ์ที่ร้ายแรง

2) ด้านความต้องการพัฒนาภาวะพฤฒพลัง ผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลปากแพรกส่วนใหญ่ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุมชน นอกจากนั้นผู้สูงอายุต้องการความมั่นคงทางด้านการเงินในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการได้รับเบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้น

3) การตรวจสอบและประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

THE MODEL OF KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR THE DEVELOPMENT OF ACTIVE AGING: A CASE STUDY OF TAMBOL PAKPRAEK MUNICIPALITY CHANGWAT KARNCHANABURI

The purposes of this research were to : 1) study active aging condition 2) study need for active aging development, and 3) construct and evaluate the model of knowledge management for active aging development in Tambol Pakpraek Municipality, Changwat Kanchanaburi.

In this study, the researcher used mixed method of quantitative and qualitative research. The samples for quantitative data were 331 elderly people in Tambol Pakpraek Municipality, acquired by stratified random sampling. The tool used for data collection was a questionnaire. The statistics used for data analysis was percentage. The sample for qualitative data consisted of 50 elderly people in Tambol Pakpraek Municipality, attained by purposive sampling. The tools used for data collection were observation, in – depth interview, and group discussion.

After data collection, the researcher organized the construction and evaluation of knowledge management model by brainstorming related persons i.e. 1) seventeen key informants in the community, 2) eight members of the evaluation board.

The results of the study were as follows:

1) Related to active aging, most of elderly people in Tambol Pakpraek Municipality had some physical health problems i.e. high blood pressure, rheumatism, diabetes, heart disease, paralysis, palsy, stroke, and cancer. However, in the aspect of mental health, most of them had no serious psychological or emotional problems.

2) Related to needs for active aging development, most of elderly people in Tambol Pakpraek Municipality wanted to be taken care by related persons, especially local government officials. They also wanted to participate in community activities. Apart from that, they wanted to have more financial security, especially, obtaining more monthly monetary support from the government.

3) The investigation and the evaluation of the model of knowledge management in the aspect of usefulness, feasibility, and appropriateness, as whole, was at maximum level.

Article Details

Section
บทความวิจัย