รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษา ผู้ขับรถยนต์ในเขตภาคกลางและกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1) ศึกษาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ 2) ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อประยุกต์ใช้ป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์ 3) ศึกษาการรับรู้และความตระหนักของผู้ขับรถยนต์ในเขตภาคกลางต่อการเตรียมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุด้วยตนเอง และ 4) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม รวม 52 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างคือผู้ขับรถยนต์ในเขตภาคกลาง 12 จังหวัดจำนวน 399 คน ขั้นตอนที่ 3 การสร้างและประเมินรูปแบบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เกิดจากความประมาท ความเห็นแก่ตัว การไม่เคารพปฏิบัติตามวินัยจราจร การขาดความพร้อมของตัวผู้ขับรถ สภาพรถที่ไม่พร้อมต่อการใช้งาน การขาดความตระหนักให้ความสำคัญต่อการขับรถยนต์อย่างปลอดภัยและความตระหนักต่อการระวังป้องกันความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน 2) หลักธรรมทางพุทธศาสนาสามารถนำมาใช้ป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ (1) หลักธรรมพื้นฐานเพื่อเข้าสู่การพัฒนาตนเอง (2) หลักธรรมที่จำเป็นต่อการขับรถยนต์ (3) หลักธรรมภาคจิตใจ (4) หลักธรรมภาคปฏิบัติ 3) การรับรู้ และความตระหนักของผู้ขับรถยนต์ในเขตภาคกลางต่อการเตรียมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุด้วยตนเอง อยู่ในระดับมาก 4) ผลการตรวจสอบและประเมินรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
A MODEL FOR THE PREVENTION OF CAR ACCIDENT USING APPLIED PRINCIPLES OF BUDDHISM : A CASE STUDY OF CAR USERS AND OTHER RELATED GROUPS IN THE CENTRAL PART OF THAILAND
The purposes of this study were to 1) Investigate causes of car accident 2) Study principals of Buddhism for the application in car accident the prevention of car accident 3) Investigate opinions of car users in the central part of Thailand in the aspect of preparation for personal prevention of car accident, and 4) Construct and evaluate the model for the prevention of car accident using applied principals of Buddhism.
In this study, there were three phases of data gathering 1) The collection of quantitative data from 6 target groups which totally consisted of 52 persons 2) The collection of quantitative data from the sample of 399 car users in 12 provinces of the central of Thailand, and 3) The utilization of the collected data in the construction of the model, and the evaluation of model by the board for investigation and evaluation of the model for the prevention of car accident using principals of Buddhism.
The results of the study were as follows: 1) Causes of car accident were carelessness, selfishness, disobedience against traffic rules, restlessness and other poor conditions of driver, poor conditions of car, lacking of the realization in driving car safely, and the realization about casualties occurred from car accident. 2) Principals of Buddhism which could be applies in the prevention of car accident were classified in to 4 group i.e. (1) Basic principals of Buddhism for self development (2) Essential principals of Buddhism using for driving (3) Principals of Buddhism in the mentality aspect, and (4) principals of Buddhism in the practical aspect. 3) Awareness and realization of car users in the central part of Thailand on preparation for accident prevention. 4) The result of the investigation and the evaluation of the model in the aspect of usefulness, feasibility, and appropriateness, as a whole, was at maximum level.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์