รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุโดยทั่วไป 2) เพื่อศึกษาสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องสุขภาพ 3) เพื่อศึกษาชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการบริหารจัดการผู้สูงอายุ และ 4) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามที่ส่งไปยังผู้สูงอายุจำนวน 382 คน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 45 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) สุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง
2) จากการศึกษาชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบริหารจัดการผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ผู้นำตามธรรมชาติที่เป็นอาสาสมัครมีจิตอาสาทำงานเพื่อผู้สูงอายุ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเหล่านั้น มีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานราชการและองค์กรเอกชน
3) ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทราด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
A MODEL FOR THE PROMOTION OF HOLISTIC WELL–BEING OF ELDERLY PEOPLE IN CHACHOENGASAO PROVINCE
The purposes of this study were: 1) to investigate the holistic well – being, in general, of elderly people in Chachoengsao Province 2) to investigate the holistic well – being of elderly people who were good models on living a healthy life 3) to study communities which were good management models on elderly people living a healthy life 4) to construct and evaluate a model for the promotion of the holistic well-being of elderly people in Chachoengsao Province. This study used methodologies of both qualitative and quantitative research. The tools used for quantitative data collection was a questionnaire which was sent to 382 elderly people in Chachoengsao Province. The collected data pertained to the holistic well – being of those elderly people. The statistics used for data analysis were percentage, means, and standard deviation. The tools used for qualitative data collection were in – depth interviews and group discussions. The sample groups were comprised of 45 key informants. The results of this study were as follows :
1) Holistic well – being of elderly people in Chachoengsao Province in four aspects: body, mind, society, and spirituality, as a whole, was at moderate level.
2) Elderly people who were good models on living a healthy life consumed vegetable more than meat. Apart from that, they had been peaceful, collaborated on social activities and had good understanding on natural law.
3) The study of communities which represented the best models in the aspect of elderly people management in Chachoengsao Province revealed that the natural leaders who volunteered to work for the elderly people could effectively motivate aging persons to participate in the development of holistic well – being by means of collaboration of all related parties, especially government and non – government agencies.
4) The results of the evaluation of the model for the promotion of holistic well - being of elderly people in Chachoengsao Province in the aspect of usefulness, feasibility, and appropriation, according to the opinions of experts, as a whole, was at high level.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์