รูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

เอกญา แววภักดี
สาโรช โศภีรักข์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนตามรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่สร้างขึ้นกับนักศึกษาที่เรียนจากการสอนปกติ   3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่สร้างขึ้นกับนักศึกษาที่เรียนจากการสอนปกติ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความรับผิดชอบต่อสังคม 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่สร้างขึ้น โดยดำเนินการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินการทดลองแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษารูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ประเมินประสิทธิภาพ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม โดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน ตอนที่ 2 การพัฒนาบทเรียนตามรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 ตอนที่ 3การประเมินรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2  ปีการศึกษา 2554 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มจากประชากร จำนวน 121 คน ได้จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มควบคุม คือ นักศึกษาที่เรียนจากการสอนปกติ จำนวน 30 คนและกลุ่มทดลองคือ นักศึกษาที่เรียนบทเรียนตามรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคม จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนบทเรียนตามรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ สถิติทดสอบ paired samples t-test สถิติทดสอบ t-test samples independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพบทเรียนตามรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการเครือข่ายสังคมที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคม มีประสิทธิภาพ 88.52/87.41 ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 จุดมุ่งหมาย (Aim) ประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ความสามารถของผู้เรียนและเป้าหมายในการเรียน องค์ประกอบที่ 2 การเข้าถึง (Accessibility) ประกอบด้วยการเข้าถึงเนื้อหาและเครือข่ายสังคม องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรม (Activities) ประกอบด้วย การสร้างกิจกรรมเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 การประเมิน (Assessment) ประกอบด้วยการประเมินผล การแสดงและการแบ่งปัน 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบต่อสังคมหลังเรียนระหว่างนักศึกษาในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน 4) คะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษามีความสัมพันธ์คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0 5) ความพึงพอใจในการใช้บทเรียนตามรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.11 อยู่ในระดับมาก

 

THE INTEGRATED SOCIAL NETWORKING OF INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE SOCIAL RESPONSIBILITY FOR UNDERADUATE STUDENTS AT RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY THANYABURI

The purposes of this research were to: 1) develop the integrated social networking of instructional model to enhance the social responsibility of undergraduate students on criteria 85/85 2) compare social responsibility posttest result score between experimental group by integrated social networking of instructional model and control group 3) compare achievement of students between experimental group by integrated social networking of instructional model and control group 4) study the relations of achievement and social responsibility 5) study student satisfaction of the integrated social networking of instructional model. The development of the model composed of three parts as follows: The first part studied the integrated social networking of instructional model to enhance the social responsibility. It was evaluated by ten experts with focus group discussion. The second part contained developing the integrated social networking of instructional model to enhance the social responsibility of undergraduate students and testing the efficiency of the model with a 85/85 standard criterion. The third part evaluated the integrated social networking of instructional model to enhance the social responsibility. The research population was 121 students in second year of undergraduate students in second semester of academic year 2011, Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Prathomtani province. The two groups were sampled by cluster random sampling to be, 30 students as control group and 31 students experimental group by using integrated social networking of instructional model. This research instruments were achievement test, social responsibility test, and satisfaction questionnaire. The statistics of analysis data were percentage, mean, standard deviation, correlation, paired samples t-test, t-test samples independent and ANCOVA.

The results of the study indicated that: 1) the efficacy of instructional model integrated social networking was 88.52/87.41. The instructional model consists of four components such as Aim, Accessibility, Activities and Assessment. 2) the mean score of social responsibility post-test between experimental and control group was not different 3) the mean score of achievement between experimental and control group was not different 4) the social responsibility score was relation with the achievement score at level of significance .01 5) the overall students’ satisfaction mean using integrated social networking of instructional model was 4.11 found that at high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย