ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่ดีมีสุขของข้าราชการตำรวจทางหลวงชั้นประทวน กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวง

Main Article Content

ระพีพันธ์ โพนทอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการอยู่ดีมีสุขของข้าราชการตำรวจทางหลวง ชั้นประทวน กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่ดีมีสุขของข้าราชการ ตำรวจทางหลวง ชั้นประทวน กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านองค์การ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 246 คน ที่คำนวณมาจากตารางสำเร็จรูปของ เครซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นของประชากรที่เป็นข้าราชการตำรวจทางหลวงชั้นประทวน กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวง จำนวน 458 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การอยู่ดีมีสุขของข้าราชการตำรวจทางหลวง ชั้นประทวน กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ข้าราชการตำรวจทางหลวง ชั้นประทวน มีการอยู่ดีมีสุข ด้านครอบครัวมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านชีวิตการทำงาน ด้านการบริหารจัดการที่ดี ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสภาพแวดล้อม ด้านความรู้ และด้านรายได้และการกระจายรายได้ ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่ดีมีสุขของข้าราชการตำรวจทางหลวง ชั้นประทวน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์การ คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และอายุราชการ มีผลต่อการอยู่ดีมีสุขได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 2) ปัจจัยส่วนองค์การ ที่ส่งผลต่อการอยู่ดีมีสุขของข้าราชการตำรวจทางหลวง ชั้นประทวน พบว่า ปัจจัยด้านหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มีผลต่อการอยู่ดีมีสุขได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05

 

FACTOR AFFECTING THE WELL-BEING OF NON-COMMISSIONED HIGHWAY POLICE OFFICERS AT SUB DIVISION 1, HIGHWAY POLICE DIVISION

The purposes of this research were to 1) study the level of well-being of non-commissioned Highway Police Officers at Sub Division 1, Highway Police Division. 2) to study factor affecting the well-being of non-commissioned Highway Police Officers at Sub Division 1, Highway Police Division classified by personal factors and organizational factors. This research was quantitative study from 246 samples computed by Krejcie and Morgan formula and stratified Random Sampling method proportionally. The population of this study were 458 non-commissioned Highway Police Officers in Sub Division 1 of Highway Police Division. The tool used for data collection was a questionnaire and the data were analyzed by using descriptive statistic included frequency, percentage, mean, standard deviation, and hypothesis tested by Stepwise Multiple Regression Analysis. The research were as follow : 1. The well-being of non-commissioned Highway Police Officers at Sub Division 1, Highway Police Division in overall was at the moderate level, considering in each aspect, it was found that the family aspect was the highest followed by the aspect of the working life, The good governance, public health, environment, knowledge, income and income distribution, respectively. 2. Factors affecting their well-being classified by personal factors and organizational factors were as follows 1) Personal factors included age, marital status, education and years of service affected the well-being significant at statistically level of confidence 0.01 and 0.05. 2) Organizational factors included the rule of law, morality, accountability, participation, responsibility and value-worthiness affected the well-being significantly at statistically level of confidence 0.01 and 0.05.

Article Details

Section
บทความวิจัย