สัมฤทธิผลของนโยบายการบริหารจัดการการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่อง สัมฤทธิผลของนโยบายการบริหารจัดการการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์นโยบายบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางและการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2) ศึกษาการประเมินนโยบายบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนโยบายบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบ Sequential Exploratory Design ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักสนับสนุนข้อมูลโดยการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 52 คนที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ราชภัฎในกลุ่มภาคกลาง 3 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา
การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 52 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่านโยบายบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นการกำหนดนโยบาย ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ และขั้นการติดตามประเมินผลนโยบาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ขั้นการกำหนดนโยบาย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ (1) การระบุปัญหา (2) การริเริ่มกำหนดนโยบาย (3) การแต่งตั้งคณะทำงาน (4) การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (5) การยกร่างและจัดทำนโยบาย (6) การประกาศใช้นโยบายโดยนโยบายจัดทำในรูปของยุทธศาสตร์
ขั้นนำนโยบายไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 1 ปี (2) การจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารงาน (3) การจัดสรรทรัพยากร (4) การจัดรูปแบบการสื่อสาร
ขั้นติดตามและประเมินผลนโยบาย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ (1) การติดตามผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการตรวจสอบภายใน (2) การวัดผลสำเร็จของแผนงานและโครงการ (3) การติดตามและประเมินผลนโยบายตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ (4) การจัดความพึงพอใจของผู้รับบริการ (5) การรับข้อร้องเรียนจากผู้รับบริหาร (6) การรายงานผลการดำเนินงานประจำปี
สัมฤทธิผลนโยบายบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้ได้คะแนนสูงในงานประกันคุณภาพ ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริง การรับและสานต่อนโยบาย เพื่อการปฏิบัติ ไม่ต่อเนื่อง ไม่มีงบประมาณสนับสนุนอย่างเหมาะสม ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์และบุคลากร เพิ่งเริ่มตื่นตัวกับระบบนโยบาย จึงยังไม่เข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนโยบาย ยังขาดความพร้อมในด้านคุณภาพอีกหลายประการ เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ ช่องทางการสื่อสารเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าใจในนโยบาย ไม่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องปรับปรุง
THE ACHIEVEMENT OF EDUCATIONAL MANAGEMENT POLICY OF RAJABHAT UNIVERSITIES IN CENTRAL REGION GROUP
The objectives of the research entitled the Achievement of Educational Administration of Rajabhat Universities of Central Region Group were 1) to analyze the educational administration policy and the implementation of the policy of Rajabhat Universities in Central Region group 2) to evaluate the educational administration policy of Rajabhat Universities in Central Region group, and 3) to study the achievement of the educational administration policy of Rajabhat Universities in Central Region group,
The research methodology used was the mixed sequential exploratory design using the qualitative method as the main method, and supported by the quantitative method. Qualitative data were collected by structured in – depth - interview with 52 key informants from three Rajabhat universities in central region.
Quantitative data were also collected by questionnaires from 52 samples from three Rajabhat universities in central region, aside from the key informants
Findings were as follows:
1. The process of policy formulation consisted of 6 steps; (1) problem identification, (2) policy invention, (3) working group assignment, (4) data and information gathering, (5) policy drafting and (6) strategies formulation for policy implementation.
2. The process of policy implementation consisted of 4 steps; (1) 1 year operational plan setting, (2) operational organizing, (3) resource allocation, (4) communication channel setting
3. Follow-up and evaluation process consisted of 6 steps; (1) operational follow-up by internal auditors, (2) project and program achievement measurement, (3) achievement follow-up as set by the strategies, (4) stakeholders satisfaction survey, (5) complaints from customer’s collection and (6) annually operation report.
4. The achievement of the educational administration policy of Rajabhat Universities in Central Region group was at middle level. Because the objectives of the policy were set for the high score in the quality assurance, not in the reality. The succession of the policy was not continuous, there was no appropriate budget to support the policy. University administrators, faculties and personnel lack policy insight. There were not enough human resources who held the academic ranks, such as professor, associate professors and assistant professor. The effective communication channel to promote the policy enhancing needed to be improved.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์