แนวคิดเรื่องการข้ามพ้นความเป็นศาสนาของพุทธทาสภิกขุ

Main Article Content

มนตรี เพชรนาจักร

Abstract

ปรากฏการณ์ทางศาสนาที่เกิดขึ้นในโลกคือ การที่ศาสนามีมากกว่าหนึ่งและไม่เหมือนกัน ส่งผลให้เกิดความความแตกต่างและความขัดแย้งทางศาสนา โดยเฉพาะความขัดแย้งเกี่ยวกับชีวิตทางศาสนาของผู้มีศาสนาที่ต่างกัน พุทธทาสภิกขุ ได้เสนอทางออกของปัญหานี้ด้วยแนวคิดเรื่อง “ไม่มีศาสนา”

“ไม่มีศาสนา” คือภาวะของการเปลี่ยนผ่านจากความเข้าใจว่ามีศาสนาไปสู่ความว่างจากการมีศาสนา อันเป็นพัฒนาการทางจิตจากการยึดโยงโลกทางกายภาพ ไปสู่ความว่างจากตัวตน อันเป็นที่ตั้งของความมีเป็น พุทธทาสภิกขุ เห็นว่า ศาสนาแท้จริงคือศาสนาแห่งการกระทำเพื่อความรอดจากทุกข์ ศาสนาทั้งหลาย ถูกปิดบังด้วยความไม่รู้ จึงมองไม่เห็นความจริงทางศาสนา อันเป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่ง ความปรากฏของสรรพสิ่งอันเป็นกฎแห่งความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน คือ การที่สรรพสิ่งไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง และไม่ได้อยู่ในฐานะตัวตนแท้จริง หากเราถอดถอนสรรพสิ่งออกจะเหลือความว่าง (สุญญตา) จากสรรพสิ่ง ในภาวะแห่งว่าง ไม่มีความทุกข์ ภาวะเช่นนี้มีลักษณะหนึ่งเดียว แผ่ปกคลุมเต็มทั้งหมด (ไกวัลย์) อันปัจจัยใดๆเข้ามาปรุงแต่งไม่ได้ (อสังขตะ) ทั้งหมดคืออย่างเดียวกัน คือสภาพแห่งความว่าง (สุญญตา) อันเป็นความจริงตามธรรมชาติ ที่ต้องเป็นอย่างนั้น โดยไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การที่เราเข้าใจว่าศาสนามีอยู่ จึงมีอยู่ในฐานะ “ไม่มีศาสนา” เพราะว่างจากการมีศาสนาบนภาวะแห่งจิตว่าง

การ “ไม่มีศาสนา” จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร เพราะไม่มีสิ่งใดจะเป็นได้ และไม่มีการที่จะเป็นสิ่งใด เพราะว่างจากที่จะเป็น จึงเป็นอย่างที่เป็น (ตถตา) ในภาวะ “ไม่มีศาสนา” จึงปลอดพ้นจากปัญหาศาสนาทั้งในเชิงทฤษฎีและชีวิตทางศาสนา เพราะเป็นการข้ามพ้นแล้วจากความเป็นศาสนา


BUDDH\inline \dpi{100} \bar{A}D SA BHIKKHU ON THE CONCEPT OF NO RELIGION

Phenomena of the different religions occurring in the world cause the conflicts to arise especially the conflicts concerning the religious life of people. Buddhadâsa Bhikkhu has proposed a solution to this problem of conflict with the idea of "no religion".

"No religion" is a state of transition from the perception of the existing of religion to the state of emptiness of religion which is the development of the mentality to change physical world to the spiritual emptiness.

Buddhadâsa Bhikkhu agrees that the true religion is the religion of the action for the salvation from suffering. All the religions are blocked by ignorance, so we can’t see the truth of religion as the cause of all things. The appearance of all things as the law of the other factors is that all things are impermanent, changing, and non-self. If we eradicate all things, there is only emptiness (Suññatâ) from all things. In this point, there is no suffering, but it is of only one state, extensive fully (Kevala), nothing can cause another thing (Asaõgkhata). All are the same (Suññatâ-Asaõgkhata) as a natural truth without changing. So, our perception about existing of the religion is the existing with "no religion", because it is emptiness from the existing of the state of spiritual emptiness.

So, in the word "no religion", we cannot say that what it is, because nothing can be anything owing to the emptiness from the state of “Being”. So, it is what it is. In the state of “no religion", it is the state of freedom from religious problems both in theory and in religious life, because it is beyond all the religions.

Article Details

Section
บทความวิจัย