ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยในระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสร้างรูปแบบความสัมพันธ์แบบพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตจังหวัดภาคกลาง ปีการศึกษา 2556 จำนวน 43 โรงเรียน ที่ได้จาการคำนวณจากสูตรของทาโรยามาเน่ และใช้การสุ่มอย่างง่ายเพื่อเลือกโรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 43 คน ครู จำนวน 215 คน และนักเรียน จำนวน 8,636 คน ของโรงเรียนที่ถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยเป็นครูประจำชั้นและนักเรียนทั้งห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของตัวแปรในระดับนักเรียน มี 3 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.92-0.93 ฉบับที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของตัวแปรในระดับห้องเรียน มี 5 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.74-0.96 ฉบับที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลขอ ตัวแปรในระดับโรงเรียน มี 5 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.89-0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความโด่ง ค่าความเบ้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพหุระดับด้วยรูปแบบระดับชั้นลดหลั่นสอดแทรกเชิงเส้น 3 ระดับ โดยใช้โปรแกรม HLM version 7 รหัส 445D-C4F7-592B-6E42
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่า ความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน เจตคติต่อการเรียน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) ปัจจัยระดับห้องเรียน พบว่า พฤติกรรมการสอนของครู มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครู มีอิทธิพลเชิงลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 3) ปัจจัยระดับโรงเรียน ได้แก่ อายุของผู้บริหาร มีอิทธิพลเชิงลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน แต่มีอิทธิพลเชิงลบต่อเจตคติต่อการเรียนของนักเรียน
2. ได้รูปแบบความสัมพันธ์แบบพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
การวิเคราะห์ภายในห้องเรียน (Within-unit Model)
ประสิทธิผลของโรงเรียนอันเนื่องมาจากตัวแปรในระดับโรงเรียน (SACij) = 0.3649 + 0.0212 ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง (SED) + 0.09828 เจตคติต่อการเรียนของนักเรียน (SAT) + 0.0618 พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน (SBE) + 0.7529 ความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน (SKN) + ค่าความแปรปรวนส่วนที่เหลือในระดับนักเรียน (eijk)
การวิเคราะห์ระหว่างห้องเรียน (Between-unit Model)
ประสิทธิผลของโรงเรียนอันเนื่องมาจากตัวแปรในระดับโรงเรียน (SACij) = 0.3649 + (-0.0507) การได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครู (TSSU) + 0.0366 พฤติกรรมการสอนของครู (TTEA) + (-0.0010) อายุของผู้บริหาร (ADAGE) + 0.0212 ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง (SED) + 0.09828 เจตคติต่อการเรียนของนักเรียน (SAT) + (-0.01812) ความเป็นผู้นำทางวิชาการ (ADIL) + 0.0618 พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน (SBE) + 0.7529 ความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน (SKN) + 0.0212 ความเป็นผู้นำทางวิชาการ (ADIL) + ค่าความแปรปรวนส่วนที่เหลือในระดับห้องเรียน (rijk)
MULTI-LEVEL FACTORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF PRIMARY SCHOOLS UNDER OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
The purposes of this study were investigate student factors, classroom factors and school factors affecting the school effectiveness of primary schools under Office of the Basic Education Commission and create the model of causal structural relationship for multi-levels factors affecting the effectiveness of primary schools under Office of the Basic Education Commission. The samples in this research were drawn from all related people in 43 primary schools under Office of the Basic Education in central region, academic year 2013, by using a Taro Yamane formula for calculating the sample size. Simple random sampling was used to select the schools. The informants included 43 administrators, 215 teachers and 8,636 students. The obtained samples were from all the students in the selected classrooms. The instruments used in this research were three sets questionnaire including : Set 1) a questionnaire divided into three parts used for collecting student data with 0.92-0.93 of the reliability. Set 2) a questionnaire divided into 5 parts use for collecting classroom data with 0.74-0.96 of the reliability. Set 3) a questionnaire divided into 5 parts use for collecting school data with 0.89-0.98 of the reliability. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, skewness coefficient and kurtosis coefficient, standard deviation, and Multi-level analysis with Hierarchical Linear Model (HLM) at three levels using HLM version 7, the code number : 445D-C4F7-592B-6E42.
The findings were as follows:
1. Factors Affecting the Effectiveness of primary schools under Office of the Basic Education Commission components composed of :
The student factors were the student’s background knowledge, learning behavior, learning attitude, and parents’ educational levels. They most positively affected the students’ learning achievement.
The classroom factors were the teachers’ teaching behavior which most positively affected the students’ learning achievement. The teachers’ social support was negatively affected the students’ learning achievement.
For the school factors, the study found that : the administrators’ age negatively affected the students’ learning achievement. The administrators’ instructional leadership positively affected the students’ background knowledge, but negatively affected the students’ learning attitude.
2. The model of causal structural relationship for multi-level factors affecting the effectiveness of primary schools under Office of the Basic Education Commission were as follows :
Within-unit Model
The effectiveness of primary schools under Office of the Basic Education Commission (SACij) = 0.3649 + 0.0212 parents’ educational level (SED) + 0.09828 students’ attitude (SAT) + 0.0618 learning behavior (SBE) + 0.7529 student background knowledge (SKN) + residual variance for the student factors (eijk)
Between-unit Model
The effectiveness of primary schools under Office of the Basic Education Commission (SACij) = 0.3649 + (-0.0507) TSSU + 0.0366 TTEA + (-0.0010) ADAGE + 0.0212 parents’ educational levels (SED) + 0.09828 students’ attitude (SAT) + (-0.01812) instructional leadership (ADIL) + 0.0618 students’ learning behavior (SBE) + 0.7529 student background knowledge (SKN) + 0.0212 instructional leadership (ADIL) + residual variance for the classroom factors (rijk)
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์