ความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคม เจตคติต่อความตาย  และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

น้ำปรุง บุญนพ
ภัทรมน สุวรรณคัณฑิ
พนมพร พุ่มจันทร์
เอื้ออนุช ถนอมวงษ์
สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์
มณฑิรา บุญทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงผสมผสานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการสนับสนุนทางสังคม เจตคติต่อความตาย และพฤติกรรมการเตรียมตัวตาย 2) ความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคม เจตคติต่อความตายและพฤติกรรมการเตรียมตัวตาย และ 3) มุมมองเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคม เจตคติต่อความตาย และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน เป็นนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2565 การวิจัยเชิงปริมาณเลือกตัวอย่างจำนวน 120 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพเลือกตัวอย่างจำนวน 20 คนด้วยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่านิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (M=3.68, SD=0.55) ขณะที่เจตคติต่อความตาย และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.17, SD=0.73 และ M=2.83, SD=0.52 ตามลำดับ) เจตคติต่อความตายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายในระดับปานกลาง (r = .53, p<.05) ส่วนการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตาย และการสนับสนุนทางสังคมกับเจตคติต่อความตาย ไม่มีความสัมพันธ์กัน ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าการสนับสนุนทางสังคมสามารถช่วยให้รับมือกับความตายได้ดีขึ้น นิสิตมีความเห็นว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติมีแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายแตกต่างกันออกไป มีมุมมองต่อพฤติกรรมการเตรียมตัวตายในแง่ดีแต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีพฤติกรรมการเตรียมตัวตาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณจริยา สุขรุ่ง. (2551). สุขสุดท้ายที่ปลายทาง เผชิญความตายอย่างสงบ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนสามลดา.

จิวีณา พีชะพัฒน์, ณาตรการณ์ ชยุตสาหกิจ และณิชา ศิลปวัฒนานันท์. (2554). ผลของการรับรู้ ความสามารถของตนเองและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมต่อสุขภาวะในวัยรุ่นตอนต้น [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47862

พระชาย อภินนฺโท. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนตายของผู้สูงอายุ

ในชมรมปฏิบัติธรรม ๒๔ น. จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. http://lp.mcu.ac.th/userfiles/file/วิทยานิพนธ์/ปริญญาโท/พุทธจิตวิทยา2562/62MCU620 22002.pdf

ไพศาล แย้มวงษ์. (2555). การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทบาลัยศรีนครินทรวิโรฒhttps://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/3622

มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์. (2566, 20 มกราคม). จำนวนนิสิตปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์. https://regis.ku.ac.th/cpcmns/rpt_std_ku3.php

มารยาท สุจริตวรกุล และสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวเพื่อการตายของผู้สูงอายุไทยพุทธ. วารสารเกื้อการุณย์, 25(1), 154-169.

มิตซูโอะ คเวสโก. (2552). ใจดีสู้เสือ. มูลนิธิมายาโคตมี.

รัตนาภรณ์ มั่นศรีจันทร์. (2559). ทัศนคติของประชาชนจังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการบริหารงาน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี : ศึกษาในห้วงเวลา ปี 2559 [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก. https://mis.krirk.ac.th/librarytext/ PCC/2559/F_Rattanaporn _Munsrijan.pdf

วรรณภา คุณากรวงศ์. (2562, 11 เมษายน). เตรียมตัวก่อนวาระสุดท้าย เลือกอยู่หรือไปให้ได้อย่างหวัง.https://tdri.or.th/2019/04/attitude-toward-palliative-care-in-thailand/

สารภี รังษีโกศัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย

และภาวะใกล้ตาย ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา. http://digital_ collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/51910148.pdf

เอกพล สมการ และมานิตย์ อรรคชาต. (2562). ทัศนคติต่อความตายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์, 11(2), 33-46.

Barnett, J., Thorpe, S., & Young, T. (2018). Characterising and justifying sample size sufficiency in interview-based studies: Systematic analysis of qualitative health research over a 15-year period. BMC Medical Research Methodology, 18(148), 1-18. https://doi.org/10.1186/s12874---018-0594-7.

Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 38(5),

-314.

Dalton, J. H., Elias, M.J., Hill, J., Kloos, B., Thomas, E. & Wandersman, A. (2012). Community psychology: Linking individuals and communities (3rd ed.). Wadsworth Cengage Learning.

Danielsen, A. G., Samdal, O., Hetland, J., & Wold, B. (2009). School-related social support and students' perceived life satisfaction. The Journal of Educational Research, 102(4), 303–318. https://doi.org/10.3200/JOER.102.4.303-320

Han, H.-F., Hsieh, C.-J., Lin, P.-F., Chao, C.-H., & Li, C.-Y. (2022). Relationships of social support and attitudes towards death: A mediator role of depression in older patients on haemodialysis. Nursing Open, 9, 986–995. https://doi.org/10.1002/nop2.1135

Hinkle, D. E., Wiersma W., & Jurs, S. G. (2003). Applied statistics for the behavioral sciences (5 ed.). https://www.worldcat.org/title/Applied-statistics-for-the-behavioral-sciences/oclc/643936092.

Mai, Y., Wu, Y.J. and Huang, Y. (2021). What type of social support is important for student resilience during COVID-19? A latent profile analysis. Front Psychol, 12, 1-11. https://doi. org/10.3389/fpsyg.2021.646145

Peggy, A. T. (2011). Mechanisms linking social ties and support to physical and mental health.

Journal of Health and Social Behavior, 52(2). https://doi.org/10.1177/0022146510395592

Pender, N. (1996). Health promotion in nursing practice. Appleton and Lange.

Robert, A. N., Richard, P. M. and Joachim, W. (2016). Assessing attitudes toward dying and death:

Psychometric considerations. OMEGA - Journal of Death and Dying, 47(1).

https://doi.org/10.2190/EP4R-TULM-W52G-L3EX

Steinhauser, K. E., Christakis, N. A., Clipp, E. C., McNeilly, M., Grambow, S., Parker, J., & Tulsky, J. A. (2001). Preparing for the end of life: preferences of patients, families, physicians, and other care providers. Journal of pain and symptom management, 22(3), 727–737. https://doi.org/10.1016/s0885-3924(01)00334-7

Wong, P. T. P., Reker, G. T., & Gesser, G. (1994). Death attitude profile—revised:

A multidimensional measure of attitudes toward death. In R. A. Neimeyer (Ed.),

Death anxiety handbook: Research, instrumentation, and application (pp. 121–148).

Taylor & Francis.