ความพึงพอใจของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมในการเข้าใช้งาน ระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการเข้าใช้งานระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเข้าใช้งานระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมที่เข้าใช้งานระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรม จำนวน 245 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
ผลการศึกษา พบว่าบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมมีความพึงพอใจในการเข้าใช้งานระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรม ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ประเภทการรับราชการ ระดับตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการเข้าใช้งานระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรมไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุของบุคลากร อายุราชการ และจำนวนครั้งในการเข้าใช้งานระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรม ในรอบ 6 เดือน แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการเข้าใช้งานระบบ Learning management system (LMS) กระทรวงยุติธรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
สมเกียรติ นากระโทก (2565). ประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ KPI E-learning หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับการเมืองระดับชาติ สถาบันพระปกเกล้า. การประชุมวิชาการระดับชาติทางรัฐประศาสนศาสตร์ครั้งที่ 14, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุพจนินท์ ดวงจินดา เสถียรพันธ์, และพนิตนาฏ ชูฤกษ์. (2563). การใช้ระบบการจัดการเรียนการสอน LMS เป็นสื่อการเรียนรู้อิสระและระบบสนับสนุนสำหรับนักศึกษาเพื่อฝึกฝน การใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 165-177
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. สหมิตรพริ้งติง แอนด์พับลิสชิ่ง.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and
Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.
Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.