ความต้องการรายการวิทยุในอนาคตของสถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

กุลกนิษฐ์ ทองเงา

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ฟังต่อรายการในอนาคต ประเภทรายการสาระความรู้ รายการข่าว และรายการบันเทิงของสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีความเข้าใจของผู้ฟังที่มีต่ออัตลักษณ์และคำแนะนำพร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการพัฒนารายการประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไป จำนวน 500 คน และกลุ่มผู้ฟังของสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และกลุ่มศิษย์เก่าจำนวน 100 คนโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้ฟังส่วนมากต้องการฟังรายการบันเทิง และไม่เข้าใจอัตลักษณ์ของสถานีวิทยุ ผู้ฟังมีข้อเสนอให้ควรพัฒนารายการประเภทข่าวให้ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ และปรับปรุงคุณภาพของการกระจายเสียงออกอากาศ

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กุลกนิษฐ์ ทองเงา และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2553). วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาบนโลกแห่งเทคโนโลยี.

วารสารวิทยบริการสำนักวิทยบริการ. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2553 (10-21).

สุดารักษ์ เนื่องชมภู. (2551). ความต้องการและความพึงพอใจต่อรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ

ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556).

กุมภาพันธ์ 2557. http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC

อรุณีวรรณ บัวเหนี่ยว และ พิเชษฐ เพียรเจริญ. (2552). การศึกษาสภาพการรับฟัง ความพึงพอใจ และ

ความต้องการของผู้ฟังรายการวิทยุของสถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการ. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2552.

อุษณีย์ศิริสุนทรไพบูลย์. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุษา จันทร์ประภาศ. (2534). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ฟังรายการวิทยุกระจาย

เสียงชุมชนของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี.

วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Atkinson, D. and Raboy, M. (1997). Overview of a Crisis.” in Public Service Broadcasting:

The Challenges of the Twenty-first Century. Paris : UNESCO Publishing.

Graham, A. and Davies, G. (1997). Broadcasting, Society and Policy in the Multimedia Age.

London: John Libbey Media.

Spence, M. and Owen, B. M. (1997). Television Programming, Monopolistic Competition, and

Welfare. In Quartery Journal of Economics, 91, 103-126.

Sydney W. Head (3rd ed.). (1989). Susan Tyler Eastman and Lewis Klein ed.

Broadcast/Cable Programming: Strategies and Practices.