การประเมินคุณภาพและความพึงพอใจของประชาคมธรรมศาสตร์ ในการใช้งานบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคุณภาพในการให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบ ด้านคุณภาพและความพึงพอใจ ในการใช้งานบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) สร้างกรอบรูปแบบที่เกิดจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างแบบสอบถามและตรวจสอบคุณภาพ 3) การเก็บข้อมูล การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจข้อมูลในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต โดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 464 ชุด ท่าพระจันทร์ 138 ชุด (บุคลากร 122 ชุด นักศึกษา 16 ชุด) ศูนย์รังสิต 326 ชุด (บุคลากร 119 ชุด นักศึกษา 207 ชุด) สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติเชิงพรรณนา และหาค่าสถิติไคสแควร์ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพในการให้บริการ ด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ ความไว้วางใจ ความยินดีในการช่วยเหลือ ความพร้อมในการให้บริการ ความมั่นใจ ความถูกต้อง ความเอาใจใส่ คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.75 อยู่ในเกณฑ์ดี 2) ความพึงพอใจ ในการใช้งานบริการ ทัศนคติ สภาพการณ์ ความสำเร็จ ความต้องการ ตอบสนองต่อคุณค่าของบุคคล สภาพความรู้สึกของบุคคล คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.80 อยู่ในเกณฑ์ดี3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพในการให้บริการ ด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ กับ ความพึงพอใจ ในการใช้งานบริการ ด้านความสำเร็จ ความต้องการ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพในการให้บริการ ด้านความยินดีในการช่วยเหลือ ความพร้อมในการให้บริการ ความมั่นใจ ความถูกต้อง ความเอาใจใส่ กับ ความพึงพอใจ ในการใช้งานบริการ ด้านทัศนคติ สภาพการณ์ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพในการให้บริการ ด้านความไว้วางใจ กับ ความพึงพอใจ ในการใช้งานบริการ ด้านตอบสนองต่อคุณค่า สภาพความรู้สึกของบุคคล มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กมล บุษบา. (2549). การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS for Window ขั้นพื้นฐานเพื่อการวิจัย. เอกสาร ประกอบการอบรมเชิง ปฏิบัติการครั้งที่1. งานส่งเสริมการวิจัย กองบริการการศึกษามธ ศูนย์รังสิต
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตรการพิมพ์
เทพพนม เมืองแมนและสวิง สุวรรณ. ( 2540 ). พฤติกรรมองค์การ. ( พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ : ท.ว.พ.
บุญชม ศรีสะอาด.(2532). การวิจัยเบื้องต้น . มหาสารคาม : โรงพิมพ์สุรีวิยาสาส์น
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2537, 6). “แนวความคิดและการวิจัยเรื่องความพึงพอใจในงานบริการ สาธารณสุข” วารสารหมอ อนามัย , 23 ( 3 ) , 149-154.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2542). จิตวิทยาการบริการ (หน่วยที่ 1-7). พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ
_____________. (2542). จิตวิทยาการบริการ (หน่วยที่ 8-15). พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ราชบัณฑิตยสถาน. (2536). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ( พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ : อ.จ.ท.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2541). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์. (2542). เรียนรู้อินทราเน็ตระบบเครือข่ายองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น
อนันต์ วรธิติพงศ์. (2551). เทคโนโลยีกับชีวิตในอนาคต2 กรุงเทพฯ: บริษัทโบนัส พรีเพรส จำกัด