การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพ แนวทางพัฒนาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยศึกษากับข้อมูลประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 53 โรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 53 คน รวมทั้งสิ้น 106 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการแก้ปัญหาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจัดการสนทนากลุ่มจากนักวิชาการ จำนวน 8 คน และวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนมีการปฏิบัติส่วนใหญ่ ที่ด้านการปรับปรุงและพัฒนา หลักการและแนวคิดในการบริหาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหาร ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การส่งต่อนโยบาย การมีส่วนร่วมของบุคลากรและการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย การวางแผน การจัดโครงสร้างองค์กร การนำองค์กร การปฏิบัติการ การตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล การปรับปรุงพัฒนา และการประสานงาน
2. แนวทางพัฒนาการแก้ปัญหาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 7 ด้าน โดยสรุปพบว่า 1) ด้านการวางแผน ได้แก่ วิเคราะห์บริบทสถานศึกษาและจัดทำแผนปฏิบัติงาน คัดกรองนักเรียน กำหนดกลยุทธ์ กำหนดแผน/โครงการและกิจกรรม 2) ด้านการจัดโครงสร้างองค์กร ได้แก่ หน่วยงานต้นสังกัดและผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านการนำองค์กร ได้แก่ ผู้บริหารต้องศึกษาข้อมูลนโยบายรอบด้านและเป็นผู้นำ สร้างกำลังใจให้กับบุคลากร ติดตามและประเมินผล 4) ด้านการปฏิบัติการ ได้แก่ โรงเรียนสานสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองและครูแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน 5) ด้านการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล ได้แก่ โรงเรียนจัดทำแผนการควบคุม ติดตามและประเมินผล ดำเนินและรายงานผลการปฏิบัติในการติดตาม 6) ด้านการปรับปรุงและพัฒนา ได้แก่ นำผลการติดตามเสนอต่อที่ประชุม วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์และหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการรายงานผล 7) ด้านการประสานงาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษาต้องใช้ทักษะการประสานงานอย่างรอบด้าน ใช้เทคนิคการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ทองทิพภา วิริยะพันธ์.(2553).การบริหารสถานศึกษาและการแก้ไขปัญหา.กรุงเทพฯ : สหธรรมิกจำกัด.
ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์.(2553).การพัฒนา 10 ความสามารถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน.นนทบุรี : อีซีอินโฟร ดิสพริบิวเตอร์ จำกัด
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์.(2548).โน้ตย่อบริหาร.เชียงใหม่;Orange Group Tactics Design.
โยธิน แสวงดี.(2553).การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis).สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดน.
นงลักษณ์ วิรัชชัยและคณะ.(2548).การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.มหาวิทยาลัยนเรศวร.พิษณุโลก.
สุรัตน์ ศรีดาเดช.(2549).การนำเสนอรูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.
สุทธิชัย อัมโรสถ.(2551).การส่งเสริมกิจการนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.(2557).กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (พ.ศ.2554-2557).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2546).คู่มือการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม.กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.
Warren B.Brown (1980). Organization Theory and Management A Macro Approach. New York : Wiley & Sons.