การบริหารงานวิชาการ กับความผูกพันต่อองค์การ ของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา/1)/ระดับการบริหารงานวิชาการ/2)/ระดับความผูกพันต่อองค์การของครู/และ/3)2ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ปีการศึกษา 2557 จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ พารามิเตอร์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลfได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุดfเมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารหารการวัดและการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด (= 4.59, = 0.28) และด้านการบริการการนิเทศภายในมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ในระดับมาก (= 3.82, = 0.47) 2) ความผูกพันต่อองค์การของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดffเมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า ความผูกพันต่อองค์การของครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.91, = 0.22) และด้านความทุ่มเทในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ในระดับมากที่สุด (=f4.55, = 0.24) และ/3)/ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรีภาพรวม/มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่//ระดับ2.01 เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า การบริหารงานวิชาการกับความผูกพันต่อองค์การของครู ด้านความศรัทธาต่อองค์การ มีความสัมพันธ์สูงสุด ในระดับปานกลาง(= 0.53) และการบริหารงานวิชาการด้านการบริหารการเรียนการสอนและการบริหารหารการวัดและการประเมินผลกับความผูกพันต่อองค์การของครูด้านความทุ่มเทในการทำงาน มีความสัมพันธ์ต่ำสุด ในระดับปานกลาง (= 0.30)
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภา
จักรี อินธิเสน. (2548). ความผูกพันและแนวทางการพัฒนาความผูกพันต่อโรงเรียนของครูโรงเรียนอัสสัมชันระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ชาลินี ฉายารัตน์. (2550). ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา
อำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
นิตยา อิ่มเอิบธรรม. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การและความผูกพันต่อองค์การ
ของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
กำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร).
พลอยงาม พะลายานนท์. (2550). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม).
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.
ศันสนีย์ เตชะลาภอำนวย. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี พนักงานโรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)
สำนักงานเทศบาลเมืองปราจีนบุรี. (2557). รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี.
Buchanan II. B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations.Administrative Science Quarterly, 19 (1). 533 – 546.
Steers, R.M. (1984). Introduction to organizational behavior. Santa Monica, CA: Goodyear.