การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

รุจิราพร หงษ์ทอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน  โดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้  2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ประสบผลสำเร็จ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) มีสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ดังนี้ 1.1) สภาพการดำเนินงาน ด้านโครงสร้างและกระบวนการทำงาน คณะกรรมการได้มาจากการเลือกตั้ง ด้านการบริหารเงินทุนและทรัพยากร มีการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการเงินอย่างความครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ด้านการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร มีการพัฒนาความรู้และศักยภาพคณะกรรมการและสมาชิก ด้านผลประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน มีการจัดสรรผลกำไรและจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกโดยกำหนดกฎเกณฑ์ ไว้ในระเบียบ 1.2) ปัญหาการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  ด้านโครงสร้างและกระบวนการทำงาน ไม่มีการทบทวน และปรับปรุงระเบียบให้เป็นปัจจุบัน ด้านการบริหารเงินทุนและทรัพยากร ไม่มีแผนการจัดการเงินทุน ไม่มีการนำเงินไปลงทุนดำเนินการหรือขยายกิจกรรม ด้านการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ไม่มีการสำรวจความต้องการและแผนการพัฒนาความรู้และศักยภาพคณะกรรมการ ด้านผลประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน ซึ่งการจัดสวัสดิการไม่ตรงตามปัญหาและความต้องการของสมาชิก 1.3) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน ปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านการเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ด้านนโยบายและการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยี 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ประกอบด้วย วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น 9 กลยุทธ์ 18 ตัวชี้วัด และ 62 มาตรการ 3) มีผลการประเมินกลยุทธ์ด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ระดับมาก และมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของ

การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย.

ประภาส เกตุไทย. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ในวิทยาลัยเทคนิคกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ประยุทธ สังขรัตน์. (2549). การจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในภาคเหนือ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชนี ไชยศาสตร์. (2553). ผลการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วิรัตน์ ไชยชนะ. (2543). ศึกษาโครงสร้างของกลุ่มออมทรัพย์และปัจจัยที่ทำให้กลุ่มเข้มแข็ง : กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์. ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วีรนาถ มานะกิจ และพรรณี ประเสริฐวงษ์. (2536). การจัดการและการบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคนคณะ. (2548). การวางแผนกลยุทธ์ ศิลปะการกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์.

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน, กรมการพัฒนาชุมชน กระทรงมหาดไทย. (2552). คู่มือการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. กรุงเทพฯ : ลีโด แลบเซ็ท จำกัด.

สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน, กรมการพัฒนาชุมชน กระทรงมหาดไทย. (2553). องค์ความรู้ : การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (สำหรับเจ้าหน้าที่). กรุงเทพฯ : ลีโด แลบเซ็ท จำกัด.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์. (2556). แบบรายงานข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. 23 มิถุนายน 2556. http://app4.cdd.go.th/cddcenter/cdd_report/cep_sav_r04.php

ประสิทธิ์ สุวรรณประสม. (2554). คู่มือการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. สำนักงานพัฒนาชุมชนสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส.