ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กับพัฒนาการเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยใน เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกับพัฒนาการเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานรับเลี้ยงเด็กอยู่ภายใต้ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อนุญาตและยินดีให้เผยแพร่ข้อมูลการจัดทำวิทยานิพนธ์ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 110 แห่ง ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างจึงกำหนดให้เป็นผู้บริหารแบบเจาะจง ทั้ง 110 คน และมีวิธีการสุ่มอย่างง่าย เลือกแบบโดยบังเอิญ เพื่อเลือกบุคลากร มาแห่งละ 1 คน จำนวน 110 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ความคิดเห็นแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2) พัฒนาการเด็ก อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกับพัฒนาการเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร ภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เจนจิรา แซ่เฮง . (2555) . การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต . มหาวิทยาลัยบูรพา
ชูศรี วงศ์รัตนะ . 2545 .เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย . พิมพ์ครั้งที่ 12 .กรุงเทพมหานคร : เทพนิรมิตการพิมพ์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ .2553 . การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.พิมพ์ครั้งที่ 11 . กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรีและศิรินันท์ ดำรงผล . จิตวิทยาพัฒนาการประยุกต์ทางการศึกษา . พิมพ์ครั้งที่ 13 . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิวิมล เชื่อมชิต . (2552) . การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเล็กผ่านการเล่นและการแสดง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต . มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ . (2553) . การวัดและการประเมินแนวใหม่:เด็กปฐมวัย .พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้าวิชาการ.
สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ .(2549) .คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี) กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สุดาพร พัฒนงาม . 2555 ). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่ต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต . มหาวิทยาลัยบรูพา .
สุภาวิณี ลายบัว . (2554) . ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษาเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี .
Hiroko Fumoto1 . (2012) . Abstract . Social Relationships and CreativeThinking in Early Childhood Practice . Retrieved from http://www.pecerajournal.com/