การนำเสนอแนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้การบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง

Main Article Content

นิรุธ บัญฑิโต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้การบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่งมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้าง   แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะแก่นักเรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประมาณค่า 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  2) ศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการทางการพัฒนาจิตสาธารณะแก่นักเรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 24 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความเหมาะสม ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่ามัธยฐาน และ   ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะแก่นักเรียนโดยมีประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเป็นไปได้ ประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้การบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 36 รายการ คือ 1) ขั้นตอนการวางแผน มีรายการปฏิบัติ 18 ข้อ เช่น กำหนดนโยบายให้ครูสอดแทรกพฤติกรรมตัวบ่งชี้ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนในทุกรายวิชา  และจัดทำโครงสร้างการดำเนินงานการพัฒนาจิตสาธารณะของโรงเรียนโดยกำหนดขอบข่าย  บทบาท  หน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ฯลฯ  2) ขั้นตอนการดำเนินงานมีรายการปฏิบัติ 5 ข้อ เช่น ดำเนินการตามนโยบาย และแผนการพัฒนาพฤติกรรมตัวบ่งชี้ด้านจิตสาธารณะของนักเรียน และส่งเสริมให้ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ฯลฯ  3) ขั้นตอนประเมินผล มีรายการปฏิบัติ 6 ข้อ เช่น สรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาพฤติกรรมตัวบ่งชี้ด้านจิตสาธารณะของนักเรียน และมอบรางวัลให้กับนักเรียนที่มีผลประเมินผ่านดีเยี่ยม ฯลฯ และ 4) ขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนา มีรายการปฏิบัติ 7 ข้อ เช่น ประมวลสาเหตุที่ทำให้การพัฒนาพฤติกรรมตัวบ่งชี้ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด ฯลฯ ซึ่งแนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนมีค่ามัธยฐานมากกว่า 3.50 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน 1.00 ทุกรายการปฏิบัติจึงถือว่าเป็นรายการที่เหมาะสม  และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก   

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ พวงพันธ์. (2552). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนบ้านตาอุด ตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์

จังหวัดศรีสะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รักใหม่ ลุนศรี. (2552). การพัฒนาจิตสาธารณะด้านการรักษาความสะอาดของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านโนนกอก

อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระพล บดีรัฐ. (2543). PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : ประชาชน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด

พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

Best, J.W. (1970). Research in education. Boston : Allyn and Bacon.