การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์ทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน 2) สร้างชุดฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน3)ประเมินชุดฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา รอบด้านสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลอง 15 วันละ 3 ชั่วโมง รวม 45 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ คู่มือชุดฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน แบบประเมินความรู้ เจตคติ และทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยายคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ทักษะการจัดการเรียนรู้เพศรอบด้าน มี 8 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 พัฒนาการตามวัยของมนุษย์และอนามัยเจริญพันธ์ มิติที่ 2 บุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ มิติที่ 3 จิตวิทยาทางเพศและพฤติกรรมทางเพศ มิติที่ 4 การพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต มิติที่ 5 ศาสนา สังคม มารยาทและวัฒนธรรมไทยกับเพศศึกษา มิติที่ 6 กฎหมายครอบครัวกับเพศ มิติที่ 7 เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเพศ มิติที่ 8 สารเสพติดที่เกี่ยวข้องกับเพศ และด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ คือ ทักษะการนำเข้าสู่การจัดการเรียนรู้ การสรุป ทักษะการเร้าความสนใจ ทักษะการสื่อสารทักษะการใช้วาจา ท่าทางเสริมบุคลิกภาพ ทักษะการอธิบาย ทักษะการมอบหมายงาน ทักษะการใช้คำถาม ทักษะการเสริมกำลังใจ ทักษะการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการจัดการเรียนรูด้วยโครงงาน 2. ผลการสร้างชุดฝึกอบรม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้การประเมินผล 3. ผลการประเมินชุดฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน พบว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมชุดฝึกอบรม มีผลการประเมินทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และทักษะการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกอบรม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และนักศึกษาที่เข้าร่วมชุดฝึกอบรม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงสาธารณสุข.(2553). ร่างพ.ร.บ.อนามัยเจริญพันธ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ กระทรวงสาธารณสุข
ณัฐนันท์ คงคาหลวง.(2550). เหตุผลของการมีพฤติกรรมทางเพศที่ขาดการป้องกัน ในสตรีวัยรุ่นตอนปลาย และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550).ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพมหานคร : สุทธาการพิมพ์.
Allen,P.L. ( 2010 ) . The wages of sin: Sex and disease,past and present.Chicago University
of Chicago Press.
Cole,P.G.and Chan,L ( 2009 ) .Teaching Principles and Practice. Sydney : Prentice Hall of Australia Pty Ltd.
Crooks,R.K. (2011). Our sexuality. Brooks-Cole publishing CA USA.
Eggen,P. (2007). Educational Psychology : Classroom Connections .New York : Merrill.
Glaser ,D.,and S. Frosh.(2009) .Child sexualabuse .Chicago: The Dropsy press.
Suggs ,R Miracle ( 2008 ). Culture and human sexuality. Pacific Grove,CA:Brooks/Cole.