การพัฒนาโปรแกรมโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขา เพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Main Article Content
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แนวคิด องค์ประกอบการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขา 2) พัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต แล 3) ประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ทดลอง คือนักศึกษาปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลอง 8 วัน 3 ระยะ รวม 48 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องมือ คือแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แผนการจัดกิจกรรม แบบวัดจิตสาธารณะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กัน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1. ผลการวิเคราะห์ แนวคิด องค์ประกอบ พบว่า โปรแกรมมีหลักคิดสำคัญ คือการน้อมนำประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ด้านดำเนินการจัดกิจกรรม และมีขั้นการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หลักไตรสิกขา 3 ขั้นตอนคือ ศีล สมาธิ และปัญญา 2. ผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่า โปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่ 3.1ระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์เนื้อหา มีการพัฒนาด้าน กาย ศีล จิต ปัญญา ผ่านตามเกณฑ์ 3.2 ผลการประเมินโครงการสร้างเสริมจิตสาธารณะทุกโครงการผ่านตามเกณ 3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เกษม วัฒนชัย.(2550).เอกสารประกอบการปาฐกถาพิเศษ “เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.
จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2550). การวิจัยและพัฒนาจิตตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญประเสริฐ สังข์เงิน. (2550). การศึกษาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. กาญจนบุรี: สุวีริยาสาสน์.
เบญจวรรณ รอดแก้ว. (2553).การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จากการทำ โครงการกิจกรรมพัฒนาสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(3),79-91.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). การศึกษาฉบับง่าย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิพุทธธรรม.
เพ็ญพรรณ ชูติวิศุทธิ . (2553). การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนการสอน ระดับ ปริญญาตรี. วารสารร่มพฤกษ์, 28 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม), 41.
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพล. ข้อมูลการทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมติของนิสิตนักศึกษา. (มติชน 14 ตุลาคม
ปีที่ 27 ฉบับที่ 9714.online)
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
(พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). ทักษะชีวิตของนักศึกษา.หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน .วันที่ 07 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11503.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Bandura, (1986). Social foundations of thought and action. Englewood Cliffs, N.J: Pretice- Hall.
Bush, (2006). Transformative learning: Theory to practice. In. P. Cranton (ed.) New directions for adult and continuing education no.74,(34). CA: Jossey-Bass.
Chickering, A. W, & Reisser, (1993). Education and indentity. (2nd ed.) .San Francisco: Jossey-Bass.
Haynes, D. J. (2004). Contemplative practice and the education of the whole person. Retrieved January 18 , 2007,from http://www.school b