ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับดูแลกิจการที่ดีของนายกสภามหาวิทยาลัย กับประสิทธิผลสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับดูแลกิจการที่ดีของนายกสภามหาวิทยาลัยกับประสิทธิผลสถาบันอุดมศึกษา และอิทธิพลของปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับดูแลกิจการที่ดีของนายกสภามหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) จำนวน 107 แห่ง โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 731 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ จากนั้นทำการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 ท่าน เพื่อยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับดูแลกิจการที่ดีของนายกสภามหาวิทยาลัย และประสิทธิผลสถาบันอุดมศึกษาตามเกณฑ์ สมศ. เกณฑ์ สกอ. และตามตัวแบบการแข่งขันค่านิยมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการวิเคราะห์อิทธิพลของชุดตัวแปรพบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของนายกสภามหาวิทยาลัย มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลสถาบันอุดมศึกษาตามเกณฑ์สมศ.และเกณฑ์สกอ.ในระดับต่ำ ในขณะที่มีอิทธิพลต่อตัวแบบการแข่งขันของค่านิยมในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้องในระบบอุดมศึกษารวมถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการประเมินคุณภาพการศึกษาในการนำข้อค้นพบจากการวิจัยเป็นแนวทางในการสร้างกลไกการพัฒนาระบบอุดมศึกษาในภาพรวมและเสนอแนะให้นำตัวแบบในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ปรัชญา เวสารัชช์. (2553). บทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย: กรรมการสภามหาวิทยาลัยภารกิจใหม่กับ อุดมศึกษาใหม่. ที่ประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง. (2550). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล. สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา.
ลาชิต ไชยองค์. (2556). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของศาลยุติธรรม:
ตัวแบบสมการโครงสร้าง. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
วัฒนา ล่วงลือ. (2538). การวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของสภามหาวิทยาลัยไทย. วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2552). การประชุมวิชาการระดับชาติ 2552: ปีแห่งคุณภาพการอุดมศึกษาไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.
-2565). กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2551). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. คณะกรรมาธิการ
การศึกษาวุฒิสภา.
อุษณี มงคลพิทักษ์สุข. (2550). การพัฒนาภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพของนายก อบต.เพื่อประสิทธิผลของ
องค์การ. วารสารร่มพฤกษ์ 25(3).
.(2556). ภาวะผู้นำเต็มขอบเขตของปลัด อบต. กับประสิทธิผลขององค์การ: การวิเคราะห์
จำแนกพหุ. วารสารร่มพฤกษ์ 31(2).
Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A Guide for the Uninitiated.
Thousand Oaks, CA: Sage.
Fornell, M. & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of Marketing Research.
Garson, G.D.(2009). Structural equation modeling. statnotes: Topics in multivariate analysis. Retrieved August 13, 2009 from www.faculty.chass.ncsu.edu/garson/statnote.htm.
Holmes-Smith, P.(2001). Introduction to structural equation modeling using LISREL. Perth: ACSPRI-Winter Training Program.
Hu, L.T., & Bentler, P.M.(1999). Cutoff criteria for fit Indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1).
MacCallum, R.C., Browne, M.W., & Sugawara, H. M. (1996). Power analysis and determination
of sample size for covariance structure modeling. Psychological Methods, 1(2).
Quinn, R. E. & Rohrbaugh, J. (1983). A spatial model effectiveness criteria: Towards a
competing values approach to organizational analysis. Management Science, 29(3).
Schermelleh-Engel, K.., Moosbrugger, H., & Muller, H. (2003). Evaluating the fit of structural
equation model : Tests of significance and descriptive goodness-of-fit measures. Methods of Psychological Research Online, 8(2).
Wheaton, B., Muthen, B., Alwin, D. F., & Summers, G. (1977). Assessing reliability and
stability in panel models. Sociological Methodology, 8(1).