การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

พรพนา บัญฑิโต

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็น และ 2) นำเสนอทางเลือกการพัฒนาสมรรถนะครูตามความต้องการจำเป็นในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดอ่างทอง โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่  ขั้นตอนที่ 1 ระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 จังหวัดอ่างทอง จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และ ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอทางเลือกการพัฒนาสมรรถนะครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์เนื้อหา  

            ผลการวิจัยพบว่า  1) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครู โดยรวมมีค่าเท่ากับ 0.26 โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ คือ ด้านการสร้างความร่วมมือกับชุมชน (0.37)  รองลงมา คือ ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัย (0.34)  ด้านการจัดการเรียนรู้ (0.22)  ด้านการพัฒนาผู้เรียน (0.20)  และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน (0.18)  ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ครูมีความต้องการจำเป็นได้รับการพัฒนาสมรรถนะ ด้านการสร้างความร่วมมือกับชุมชน เป็นอันดับแรก ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัย เป็นอันดับที่ 2 และ ด้านการจัดการเรียนรู้ เป็นอันดับที่ 3  และ 2) ทางเลือกการพัฒนาสมรรถนะครูตามความต้องการจำเป็น ด้านการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในประเด็น ความสามารถในการนำชุมชนมามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถานศึกษา เช่น ศึกษา และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เชิญผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัย ในประเด็นความสามารถในการเขียนเอกสารทางวิชาการ เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำหนดนโยบายการพัฒนาครู ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยลงในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ ด้านการจัดการเรียนรู้ ในประเด็น ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร เช่น จัดอบรมครูในด้านการจัดการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาหลักสูตรจนได้ครูแกนนำแล้วใช้ครูแกนนำให้ความรู้ 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เกสิณี ชิวปรีชา และชญาพิมพ์ อุสาโท. (2556, กรกฎาคม-กันยายน). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมี ส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล. วารสารครุศาสตร์, 41 (3), 147-159.

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. (2555). รายงานการคัดสรร วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2555. ปทุมธานี : ผู้แต่ง.

วณิช นิรันตรานนท์. (2552). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในเขตบริการของสำนักงานเขตพื้นที่. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2553). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพใน สถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อานุภาพ ธงภักดี. (2551). ความต้องการและรูปแบบการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1-7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.