ผลการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

วัสส์พร จิโรจพันธุ์
กันต์ฤทัย คลังพหล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถ
ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยประชากรได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 415 คน แบ่งเป็น 4 สาขา คือสาขาคณิตศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 160 แบ่งเป็น 4 สาขา คือ สาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 40 คน สาขาภาษาอังกฤษ จำนวน 40 คน สาขาวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 คน สาขาปฐมวัย จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบประเมินที่มีการตอบสนองเดี่ยวสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ( )

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ในด้านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้ ( =0.587) ก่อนเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ การเก็บรวบรวมและการแปลผลข้อมูลสารสนเทศ ( =0. 562) การวางแนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ ( =0. 553) การให้ระดับะแนน การสรุปรายงานผลและการแปลความหมายของผลการประเมิน ( =0. 550) การใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้ ( =0. 548) การนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้( =0.531) การออกแบบในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสร้างเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ ( =0.530) และ การกำหนดจุดประสงค์ในการประเมินผลการเรียนรู้( =0. 523) เป็นลำดับสุดท้าย ในเชิงอัตราการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่เป็นอยูไปยังสภาพที่คาดว่าควรจะเป็นของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คิดเป็น รอยละ 52 ถึง ร้อยละ 59

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ).

กฤติยา วงศ์ก้อม. (2547). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรียา ไชยศรีพรหม. (2553).แนวทางการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ ในระดับสถานศึกษาภาคบังคับ. ในโอกาสครบรอบ 38 ปี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2556. จาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpI VXdOVEk1

ชนันท์ เกียรติสิริสาสน์. (2549). การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชิรา ชาติกุล. (2552). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ จรุงกลิ่น. (2547). การศึกษาความคิดเห็นและการปฏิบัติจริงในการประเมินผล

การเรียนศิลปศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.ภาควิชาศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรศรี พัวพิมลศิริ. (2550). การศึกษาความรู้และปัญหาการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. 2544 ของครูระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรทิพย์ ไชยโสและคณะ. (2556). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้าน

การประเมินการเรียนรู้ของนิสิตครู.วารสารวิจัยการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ปีที่ 1

ฉบับที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

พัชรี จันทร์เพ็งและสำรวน ชินจันทึก (2553).การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ด้านการวัดผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารการวิจัยสังคมศาสตร์ ประมวลบทความวิจัยคัดสรรและบทความวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรีวรรณ สมเชื้อ. (2549). การวิเคราะห์กระบวนการประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์: การวิจัยพหุกรณีศึกษาของครูต้นแบบและการวิจัยเชิงปริมาณ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินดา วราสุนันท์. (2557,มกราคม – มิถุนายน).การประเมินความต้องการจำเป็นด้านความสามารถทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู.วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 14, ฉบับที่ 1, มกราคม - มิถุนายน 2014, หน้า 27-37.

ไพศาล คงภิรมย์ชื่น. (2547). การศึกษาสภาพการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้น

พื้นฐานพุทธศักราช 2544 ของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา.สารนิพนธ์ศึกษา

ศรัญญา รณศิริ. (2550). การวิเคราะห์สภาพการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน 8

กลุ่มสาระการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ.(2553).รายงานการประชุมการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง.

เรื่อง การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552–2561) ของครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2.

วันที่ 28 – 29 ธันวาคม 2553. แพร่ฯ: สำนักงาน.ถ่ายเอกสาร.

______.(2555). การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน: ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ.

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.flipbooksoft.com/upload/books/02-2012/

สุวิมล ว่องวาณิช.(2550).การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน = Classroom action research. (พิมพ์ครั้งที่ 15).

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เล่ม 2. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.

_____. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561).กรุงเทพฯ :พริกหวานกราฟิก.

American Federal of Teachers, National Council on Measurement in Education andNational Education Association.(1990). Standards for Teacher Competence in Educational Assessment of Students.Washinton, DC: Author.

Zottmann, J., Goeze, A., Fischer, F. & Schrader, J. (2010, August / September). Facilitating the Analytical Competency of Pre-Service Teachers with Digital Video Cases: Effects of Hyperlinks to Conceptual Knowledge and Multiple Perspectives. Paper presented at the EARLI SIG 6&7 Conference 2010. Ulm, Germany.