การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง HOWDY ENGLISH สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง Howdy English สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคุณภาพอย่างน้อยระดับดีตามการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และ 2) เปรียบเทียบคะแนนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากแบบทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง Howdy English
กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง Howdy English แบบประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชัน แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
ผลวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง Howdy English สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตการ์ตูนแอนิเมชัน อยู่ในระดับดีมาก และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนจากการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง Howdy English มีคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมวิชาการ. 2545. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการ
จัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ
กิดานันท์ มลิทอง. 2548. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.
จรูญพร ปรปักษ์ประลัย. 2548. Animation says Hi! สวัสดีแอนิเมชั่น. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์กรุงเทพ.
จินตนา ใบกาซูยี. 2537. การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ชม ภูมิภาค. 2524. เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ประสานมิตร.
ทิศนา แขมมณี. 2550. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อ้างถึง R. M. Gagné. 1974. Principles of instructional design. New York: Holt, Rinehart and Winston.
ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล. 2547. การสร้างภาพยนตร์ 2D อนิเมชั่น How To Make 2D Animation.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี.
เบญจมาศ เบ็ญจพรกุลพงษ์. 2544. การรับรู้ของเด็กที่มีต่อพฤติกรรมของตัวการ์ตูนชินจังใน
การ์ตูนทางโทรทัศน์ชุดชินจังจอมแก่น. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศ-
ศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทิน คล้ายนาค. 2541. การผลิตรายการโทรทัศน์ทางการศึกษา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิสณุ ฟองศรี. 2551. วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: พรอพเพอร์ตี้พรินท์.
วิภา อุตมฉันท์. 2538. การผลิตสื่อโทรทัศน์และวีดิทัศน์. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. 2534. ข้อสอบ:การสร้างและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง
Bigge, M. L. 1982. Learning theories for teachers. New York: Harper & Row.
Gagné, R. M., and L. J. Briggs (eds.). 1974. Principles of instructional design. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Muir, S.E. 2005. Getting the animated message : Effects of animated public service
announcements designed for children on adults. Master Abstracts International.