การพัฒนาเลิร์นนิงออปเจ็กต์ เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศนียา พันธ์ศรี
จงกล แก่นเพิ่ม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาเลิร์นนิงออปเจ็กต์ เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียน  และ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ เลิร์นนิงออปเจ็กต์ เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  เลิร์นนิงออปเจ็กต์ เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แบบประเมินคุณภาพ เลิร์นนิงออปเจ็กต์  แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อเลิร์นนิงออปเจ็กต์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่าเลิร์นนิงออปเจ็กต์ เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ตามที่ได้กำหนดไว้ คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อเลิร์นนิง ออปเจ็กต์  อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ . (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรงเทพฯ ุ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิดานันท์ มลิทอง. 2548. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.

ศยามน อินสะอาด. 2551. มาตรฐานอีเลิร์นนิ่ง E-Learning Standard และมาตรฐานสื่อ Learning Object (Online).

http://www.dretc.net/view.php?article_id=35, 20 สิงหาคม 2551.

สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2549. รู้จักกับ Learning Object (Online).

http://203.146.15.109/Ims/content/learningobject/main.html,

สิงหาคม 2551.

สติยา ลังการ์พินธุ์. 2548. “การสร้าง Learning Object.” วารสาร สสวท. 33 (134 มกราคม - กุมภาพันธ์)

สุรัชน์ อินทสังข์. 2548. “Learning Object มิติใหม่สื่อไอที ยกชั้นเรียนวิทย์-คณิตไว้หน้าจอ.” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (25 ตุลาคม 2548): 27.

อุทุมพร จามรมาน. 2543. ข้อสอบ: การสร้างและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. 2537. การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาน.

อัญชรีย์ ผาสุกหัส. 2550. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพนักงานบริษัทจัดจ้างช่วยฏิบัติงาน

ตรวจตั๋วผู้โดยสารจากบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การตรวจตัวผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่องบิน โดยใช้ Hand – Held Metal Detector ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Advanced Distributed Learning (ADL). 2001. The SCORM Content Aggregation Model. (Online). http://www.adlnet.org, August 20, 2008.

Francis, D. 2007. Instructional Designers' Conceptualizations of Learning Objects. Memorial University of Newfoundland (Canada).

Henderson, L. 2007. The Effects of Prior Knowledge Activation on Learner Retention of New Concepts in Learning Objects. University of Central Florida.

Liu, Y. 2005. Design of Learning Objects to Support Constructivist Learning Environments. University of Missouri – Columbia.

Roy,M 2004. Learning Objects. [Online]. Available: http://www.educause.edu/ir/library/pdf/DEC0402.pdf [2007, February 25].

Tejada, S.2003. Learning Object Identification Rules for Information Integration. University of Southern California.

Wiley, D. 2001. What are Learning Object? (Online).

http://www.educause.edu/ir/library/pdf/DEC0402.pdf,August 20,2008.