“แหนแห่ให้เห็นงาม”: พฤติกรรมการยอมรับ และการมีส่วนร่วม ในการแหนแห่ทางวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธีรยุทธ นิลมูล

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการยอมรับ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้คนในสังคมเมืองเชียงใหม่ต่อการจัดขบวนแหนแห่ในปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อรับทราบถึงปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดขบวนแหนแห่ อันจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไข และการปรับปรุงให้เข้าถึงความต้องการของทุกฝ่ายมากขึ้น เครื่องมือในการศึกษา คือ วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการขบวนแหนแห่ในปัจจุบันมุ่งเน้นด้าน “การสร้างภาพลักษณ์ทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว” การยอมรับต่อขบวนแหนแห่ของชาวเชียงใหม่อยู่ในระดับปานกลาง โดยชาวเชียงใหม่ 87% เคยมีส่วนร่วมในขบวนแหนแห่ เป็นการเข้าร่วมการแหนแห่เกี่ยวกับเทศกาลประเพณีที่เน้นด้านการท่องเที่ยวมากกว่าขบวนแหนแห่ที่เกี่ยวกับประเพณีแห่งชีวิต และพิธีกรรม นอกจากนี้ชาวเชียงใหม่ยังสะท้อนปัญหาในเรื่องของสถานที่จอดรถไม่เพียงพอ, ปัญหาการเข้าถึงการบริการสาธารณูปโภค และจุดรับชมขบวนที่ไม่มีระเบียบ ล้วนเป็นปัญหาที่มีความสำคัญโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการงานประเพณีควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. 2550. รายงานผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2537. การเสนอแผนการจัดการอนุรักษ์ สภาพแวดล้อมเมืองเก่าเชียงใหม่. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธาตรี ใต้ฟ้าคูณ. 2552. Cultural Industry. กรุงเทพฯ: การจัดการทางวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เธียรชาย อักษรดิษฐ์. หัวหน้าภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศิษย์เก่าคณะวิจิตรศิลป์รุ่นที่ 2. สัมภาษณ์, 12 กรกฎาคม 2554.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. 2527. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหิดล.

บุญรักษ์ เตชะธีราวัฒน์. 2552. การศึกษาการยอมรับให้มีการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะครบวงจรในพื้นที่กลุ่มอำเภอแม่จันของชาวบ้านชุมชนเทศบาลตำบลจันจว้า จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพียงจันทร์ ลิขิตเอกราช. 2535. การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว : กรณีศึกษางานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มานพ มานะแซม. อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สัมภาษณ์, 22 กรกฎาคม 2554

วิถี พานิชพันธ์. 2548. วิถีล้านนา สังคมและวัฒนธรรมปัจจุบัน. เชียงใหม่ : โชตนา.

สานิตย์ บุญชุ. 2527. การพัฒนาชุมชน: การส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์.

David Wilcox. 1994. The Guide to Effective Participation. (Mimeographed). pp.2-4.

Rogers, Everett M. 1962. Diffusion of innovations. New York: Free Press.