การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก

Main Article Content

ฐิติพงศ์ โกสันต์

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก และ (2) เพื่อศึกษาถึงข้อเสนอแนะของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จำนวน 152 คน ซึ่งเป็นผู้นำในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล  ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการจัดแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน  และผู้นำชุมชน  ซึ่งเป็นตัวแทนภาคประชาชน ได้แก่ ประชาคมหมู่บ้าน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
            ผลการวิจัยพบว่า  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น  องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก   โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับสูงมาก 1 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ระดับสูง 2 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลและระดับปานกลาง 1 ด้านคือ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ    

            ข้อเสนอแนะ  ประชาชน  ผู้ตอบแบบสอบถาม  ควรต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดคุณภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง,กรม,กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ องค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย, 2547

______ คู่มือการปฏิบัติงานจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย, 2543 ก.

โกมินทร์ กุลเวชกิจ. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจตุรพักตรพิมาน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธฺ ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, 2549

กรมการปกครอง. คู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร : กรม ฯ 2539

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

พ.ศ.2551 – 2555. เชียงใหม่ : องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง,2550

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2548

คารม คำพิฑูรย์. การศึกษาการบริหารจัดการในการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเสริมสร้างการมีส่วน ร่วมของประชาชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.

จิรศักดิ์ สีใจเจริญ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของ อบต. : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (การเมืองและการปกครอง) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543

ประทาน คงฤทธิศึกษากร. การปกครองท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พีระพัธนา,2526

ปรัชญา เวสารัชช์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524.

พูนศักดิ์ วาณิชวิเศษกุล. การปกครองส่วนท้องถิ่นและพื้นฐานการพัฒนาประชาธิปไตย : กรณีศึกษาสภาตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. การบริหารงานพัฒนาชนบท การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2526.

ฉอ้าน วุฑฒิกรรมรักษา. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเข้าร่วมของประชาชนในโครงการก่อสร้างในชนบท : เฉพาะกรณีโครงการที่ได้รับรางวัลดีเด่น ตำบลคุ้งพะยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2526

ชลัช จงสืบพันธ์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารท้องถิ่น : เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารท้องถิ่น สาขาวิชาวิทยาการจัดการ หน่วยที่ 1-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.

ชลธิชา แสงมาก, การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภาคนิพนธ์ พบ.ม. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, 2544.

ชินรัตน์ สมสืบ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539.