รูปแบบประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพ สำหรับวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์

Main Article Content

อัชฌพร อังกินันทน์

Abstract

การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพ สำหรับวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปีการศึกษา 2555 จำนวน 414 แห่ง โดยผู้อำนวยการและตัวแทนครู

ผู้สอน 1 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 5 ระดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS หาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (correlation) และโปรแกรมลิสเรล 8.52 ในการวิเคราะห์ ความเบ้ ความโด่ง องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้      1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพ เรียงลำดับค่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) อิทธิพลตรงทางบวก มี 3 ปัจจัย คือ ความผูกพันของครู การรับรู้ความสามารถรวมของครู และการเรียนรู้จากประสบการณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.46, 0.25, 0.18 ตามลำดับ (2) อิทธิพลอ้อมทางบวกมี 2 ปัจจัยคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้ความสามารถรวมของครูและความผูกพันของครู 0.42 การรับรู้ความสามารถรวมของครูมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อิทธิทางอ้อมผ่านความผูกพันของครู 0.08 (3) อิทธิพลรวมทางบวกมี 3 ปัจจัยคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ความผูกพันของครู การรับรู้ความสามารถรวมของครู มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวก 0.60, 0.46, 0.33 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาค่าอำนาจการพยากรณ์ (R2) พบว่า ตัวแปรที่นำมาศึกษาในรูปแบบสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพ สำหรับวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ได้สูงสุดถึงร้อยละ 55 3) เมื่อพิจารณาระดับอิทธิพล พบว่า การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพสำหรับวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ ที่ค้นพบสามารถสรุปได้ว่า การประเมินระดับอิทธิพลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพในการนำไปปฏิบัติของครูผู้สอนเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยเรียงตามลำดับหัวข้อและค่าเฉลี่ยความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้จำนวน 71 แนวทาง 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2549).

กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน.

รสวลีย์ อักษรวงศ์. (2545). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความสามารถของครูในการสอนทักษะแก้ปัญหา.

ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Ashton, P. T. (1985). Motivation and teachers’ sense of efficacy. In C. Ames & R. Ames

(Eds.), Research on motivation in education 2: The classroom milieu, pp.

-174. Orlando, FL: Academic Press.

Burcham. M. W. (2009).The impact of collective teacher efficacy on student achievement

in high school science. Ed. D; Gardner-Webb University.104 pages. AAT 3354869.

Firestone, W. A., & Rosenblum, S. (1988). Building commitment in urban high schools.

Education, Evaluation, and Policy Analysis, 10(4): 285-289.

Goddard, R. D. (2001). Collective efficacy: A neglected construct in the study of schools

and student achievement. Journal of Educational Psychology, 93(3) : 467-476.

Hoy W., & Hoy, W. K. (2000). Teacher efficacy: Its meaning and measure. Review of

Educational Research, 68(2) : 202-248.

Kolb & Fry. 1975). Organizational learning: The contributing processes and literatures. in Cohen,

M. D., & Sproull L. S. Organizational learning, pp.124- 162.Thousand Oaks, CA: Sage.

Kush man, J. W. (1992). The organizational dynamics of teacher workplace commitment:

A study of urban elementary and middle schools. Educational Administration

Quarterly, 28(1): 5-42.

Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers, R. M. (1982). Employee-organization linkages: The psychology of commitment, absenteeism and turnover. New York: Academic.

Riehl, C., & Sipple, J. W. (1996). Making the most of time and talent: Secondary school 151

organizational climates, teaching task environments, and teacher commitment.

American Educational Research Journal, 33(4): 873-901.

Ross, J. A. (1993). Research on teacher efficacy. Ontario: The Ontario Institute for Studies in

Education

Ross, J. A., & Gray, P. (2006). Transformational leadership and teacher commitment to

organizational values: The mediating effects of collective efficacy. Paper at the

annual meeting of the American Educational Research Association, San Diego.

Ross, J. A. and Gray, P. (2004). Transformational leadership and teacher commitment to

organizational value: The mediating effects of collective teacher efficacy.

Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research

Association, SanDiego.