การศึกษารูปแบบศิลปกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงวัยเพื่อบำบัดภาวะซึมเศร้า

Main Article Content

ทักษิณา สุขพัทธี

Abstract

             การวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบศิลปกรรมบำบัดเพื่อบำบัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาด้านพฤติกรรมจิตใจและภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัย เพื่อศึกษาแนวทางศิลปกรรมการบำบัดเพื่อบำบัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัย ซึ่งผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มคือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงวัยและกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงวัย ใช้กลุ่มตัวอย่างจากการศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานีคลอง 5 ทั้งนี้         กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมี 3 คน กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงวัย 5 คน โดยทำการคัดเลือกแบบเจาะจงรวม 8 คนและกลุ่มตัวอย่าง 5 คน เก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) และนำการสัมภาษณ์มาถอดข้อความคำต่อคำ (Verbatim transcription) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา content analysis ผลการวิจัยพบว่าด้านการศึกษาปัญหาด้านพฤติกรรม จิตใจและภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยปัญหาด้านพฤติกรรมในผู้สูงวัยของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี ได้สร้างรูปแบบรในการดูแลออกเป็น 3 ระดับ เพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมคือ เกรดเอ     เกรดบีและเกรดซี โดยทั้ง 3 แบบนี้มีความต่างกันทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้ดูแลจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสภาพร่างกายนั้นเสื่อมโทรมไปตามอายุขัยส่วนภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุถือเป็นการป่วยทางจิตใจชนิดหนึ่งที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีการปฏิบัติตนทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมโดยจัดรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจก่อนที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

           The research in a title of ‘A Study of Forms of Art Therapy for the Elderly to Treat Depression’ aims to study behavioral and mental problems as well as depression in the elderly. The researchers had collected data from three groups of samples, including experts, caregivers of the elderly and the elderly. The group of caregivers of the elderly was samples from the study of Social Welfare Development Center for Older Persons in Pathum Thani, Klong 5, totally five people. The group of experts was totally three people. The group of the elderly was totally five people. Eight samples were selected by purposive sampling and five samples were interviewed by in-depth interview and the obtained data were brought to be used in verbatim transcription and content analysis.

           The research results indicated that the study of behavioral and mental problems as well as depression in the elderly in Social Welfare Development Center for Older Persons in Pathum Thani had created a model of elderly care into three levels to provide appropriate assistance in Grade A, Grade B and Grade C. These three models are different physically and mentally. The caregivers of the elderly must prepare for intensive care for the elderly due to physical conditions will be deteriorated based on expectancy of life. For depression in the elderly, it is considered as a type of mental illness that can be prevented or avoided by appropriate physical and mental practices from participating several activities. This can prepare readiness of body and mind before entering the elderly age effectively.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ทักษิณา สุขพัทธี

อาจารย์สาขาออกแบบนิเทศศิลป์   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

ขวัญฤทัย อิ่มสมโภช. 2549.ผลของศิลปะเพื่อการบำบัดต่อการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางแค. วิทยานิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์

สาขาวิชาสุขภาพจิต,

จารุทัศน์ วงศ์ข้าหลวง. 2547. พลังแห่งสีบำบัด. นิตยสารบันทึกคุณแม่, กรุงเทพฯ.]

เฉก ธนะศิริ. 2540. สมาธิกับคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ดราฟแมนเพลส.

ชลิดารัชตะพงศ์ธร. 2554. สีและปัจจัยเกี่ยวเนื่องในศิลปะบำบัดที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. 2542. ศิลปะเด็กพิเศษart for all. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ฐาปนวัฒน์ คนหลวง. 2537.ศาสตร์แห่งการบำบัดด้วยสี. กรุงเทพฯ : ต้นธรรม.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. 2550. ศิลปะบําบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบําบัด. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา และ สมจิตร ไกรศรี. 2549. โปรแกรมศิลปกรรมบำบัด สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นุชสรา ทรัพย์อินทร์. 2553. ผลของกลุ่มศิลปะบำบัดต่อความเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรงของเด็กวัยเรียนในสถานการณ์ความไม่สงบที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอตันบาตู จังหวัดนราธิวาส.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เลิศศิริร์ บวรกิตติ. 2553. ศิลปกรรมบำบัดสังเขป. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.

สุดารัตน์. 2539. บำบัดโรคด้วยสี. กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์

อันเวส. 2542. สีกับการบำบัดรักษา. กรุงเทพฯ : มาสเตอร์ พรินติ้ง.

ศรีประภา ชัยสินธพ. (2558). สภาพจิตใจของผู้สูงอายุ.[ออนไลน์] 2 มกราคม 2558. www.ramamental.com

อนุพันธ์ พฤษเขียวขจี. ศิลปะบำบัดในมุมมองของมนุษยปรัชญา. (มปป.).[ออนไลน์] 20 มกราคม 2558, http://www.manarom.com/art_therapy.html.

Malchiodi. What Is Art Therapy. [online] . Available http://www.cathymalchiodi.com /about/what-is-art-therapy. 2 January 2012.