อัตลักษณ์ขององค์กรจากการรับรู้ของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย

Main Article Content

ศุภมาศ ปลื้มกุศล

Abstract

             การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ขององค์กรของพนักงานการรถไฟฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ การสื่อสารองค์กร การออกแบบองค์กร โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์องค์กร วัฒนธรรมองค์กร พฤติกรรม และลักษณะเฉพาะของธุรกิจ จากการรับรู้ของพนักงานฯ ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรของพนักงานฯ ศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังด้านประชากรและด้านการปฏิบัติงานต่อการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรของการรถไฟฯ ศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังด้านประชากรศาสตร์และด้านการปฏิบัติงานต่อการรับรู้อัตลักษณ์ขององค์กรของพนักงานฯ  และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรและการรับรู้อัตลักษณ์ของพนักงานฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานและลูกจ้างของการรถไฟฯ จำนวน 400 คน พบว่า 1) พนักงานฯ การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร 5 ช่องทาง พบว่า สื่อกิจกรรม สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ เปิดรับค่อนข้างมาก ส่วนสื่อใหม่/สื่อออนไลน์และสื่อโสตทัศน์ เปิดรับค่อนข้างน้อย  2) พนักงานฯ รับรู้อัตลักษณ์ใน 7 ด้าน พบว่า พนักงานฯ รับรู้อัตลักษณ์องค์กรทั้ง 7 ด้าน ค่อนข้างมาก  3) การเปิดรับสื่อกิจกรรมมีความสัมพันธ์กับการรับรู้อัตลักษณ์ทั้ง 7 ด้าน โดยสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และสื่อโสตทัศน์ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้อัตลักษณ์ด้านการออกแบบองค์กร วัฒนธรรมองค์กร กลยุทธ์องค์กร โครงสร้างองค์กร พฤติกรรม และการสื่อสารองค์กร และลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์และด้านการปฏิบัติงานแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการทำงาน สังกัดและพื้นที่ปฏิบัติงาน มีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรที่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีสังกัดแตกต่างกัน กลับมีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ที่ไม่แตกต่างกัน และภูมิหลังที่แตกต่างกันด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการทำงาน สังกัด ตำแหน่งและพื้นที่ปฏิบัติงาน รับรู้อัตลักษณ์องค์กรที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรมีความสัมพันธ์กับการรับรู้อัตลักษณ์ของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย  

 

            A research on “Corporate Identities in the Acknowledgement of the Staffs of the State Railway of Thailand” aims to study on the corporate identities of the State Railway of Thailand in terms of corporate communication, organization design, organization structure, organization strategy, corporate culture, behaviors and industry identity in the acknowledgement of the staffs of the State Railway of Thailand. The research focuses on the internal public relations media exposure behaviors of the staffs inside the State Railway of Thailand, together with studying on the differences between a demographic background and an operation to the internal public relations media exposure behaviors inside the State Railway of Thailand, the differences between the demographic background and the operation to the acknowledgement of the corporate identities of the State Railway of Thailand’s staffs, including a relationship between the internal public relations media exposure and the acknowledgement of the corporate identities of the State Railway of Thailand’s staffs.

           This research is a quantitative research conducted by surveying on the sample group of the 400 staffs and employees. The results of this research are as follow: 1) The staffs of the State Railway of Thailand open for the internal public relations media from the State Railway of Thailand and Public Relations and Information Center in five channels namely, personal media, printing media, audiovisual media, new/online media, and activities. 2) Their Acknowledge the seven corporate identities consisting of corporate communication, organization design, organization structure, organization strategy, corporate culture, behaviors, and Industry Identity. 3) The internal public relations media exposure in the organization is related to the acknowledgement of the corporate identities. The activities are associated with the acknowledgement of seven identities. The personal, printing, online, and audiovisual media are related to the acknowledgement of the identities in terms of organization design, corporate culture, organization strategy, organization structure, behaviors, and corporate communication. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ศุภมาศ ปลื้มกุศล

นักศึกษาหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

References

กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

กาญจนา เทพแก้ว,สมสุข หินวิมาน. (2553) สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมะ สตะเวทิน. (2539). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2555). การสื่อสารองค์กร (Corporate Communication). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547) การออกแบบอัตลักษณ์ : Corporate Identity. กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์ CORE FUNCTION

พัชราภรณ์ เกษะประกร. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการบริหารเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงองค์กร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

กาญจนา นาคสกุล. ไตรลักษณ์ ภาพลักษณ์ อัปลักษณ์ สัญลักษณ์ เอกลัด อัตลักษณ์. สกุลไทย, 2606 28 กันยายน 2547.

นิสาชล รัตนสาชล. (2547) การสร้างเอกลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) เพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร. เอกสารประกอบการสัมมนา Image Differentiation by PR. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กฤตพล สุนทรวราภาส. (2551). การสื่อสารภายในและการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การในทัศนะของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

จุฑาพรรธ์, ผ. (2550). วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์ = Culture, communication and identity: กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

จีราวรรณ พรมทอง. (2555) แนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์องค์กร กรณีศึกษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

จอมพล เจริญยิ่ง. (2552). การสื่อสารอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชของบุคลากรระดับบริหาร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปภาวรินทร์ นักธรรมา.(2553) การพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษาสาขาการตลาด กรณีศึกษา:ห้อง MK201 คณะบริหารธุรกิจ โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ. เชียงใหม่: วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ

ศุภฤกษ์ รักชาติ และสุวิมล ว่องวานิช. (2555). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้านความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์โรงเรียนและแนวทางการกำหนดอัตลักษณ์โรงเรียนของผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โสธร เจริญไทย. (2547). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างเอกลักษณ์องค์กรของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อรจิรา วรรณศิริพงษ์. (2554) การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร กรณีศึกษาธนาคารอาคารสงเคราะห์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Cees B.M. and van Riel .(1987). Corporate Identity: the concept, its measurement and management. UK: European Journal of Marketing.

Dominic Lasorsa and America Rodroguez.(2013). Identity Communication New Agendas in Communication. New York: Routledge

Lin Lerpold, Davide Ravasi, Johan vanRekom and Guillaume Soenen. (2007). Organizational Identity in Practice

Robinson, Edwand J. (1967). Public Relations and Survey Research. New York: Meredith Corp.

T.C. Melewar. (2006). Seven dimensions of corporate identity. A categorization from the practitioners perspective. London ,UK: Emerald Group Publishing Limited.