การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับกิจกรรมของการบริหารความเสี่ยง ระดับประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง และความสัมพันธ์ระหว่างระดับกิจกรรมและระดับประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง โดยสำรวจความคิดเห็นจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการสุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ตัวอย่าง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่งทั่วประเทศ ผลการศึกษาปรากฏว่า ระดับการทำกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง ด้านการระบุความเสี่ยงของการบริหารความเสี่ยง ด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยง และด้านการจัดการความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่มีการดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์มาก ระดับประโยชน์ที่ได้รับจากการบริหารความเสี่ยง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ประโยชน์ด้านการบริหาร ประโยชน์ด้านความสำเร็จ ประโยชน์ด้านการพัฒนา และประโยชน์ด้านการจัดสรรทรัพยากร โดยรวมมีระดับประโยชน์อยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์ระหว่างระดับกิจกรรมและระดับประโยชน์การบริหารความเสี่ยง ปรากฏว่าบุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่าการดำเนินกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับประโยชน์ในด้านต่างๆ ในระดับต่ำ มีข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาตัวชี้วัดระดับการทำกิจกรรมในเชิง ปริมาณ เพื่อสะท้อนการทำกิจกรรมที่แท้จริงมากกว่าใช้ความคิดเห็นของบุคลากร และผลการศึกษาเป็นเพียงความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งไม่สามารถสะท้อนถึงระดับการทำกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับที่แท้จริงได้
This research aims to determine the level of risk management activities. The benefits of risk management. And the relationship between the activity and the benefits of risk management. The survey by the staff of the University. The sampling of 385 samples from 40 locations throughout the High Country. Results of the study appear the risk management activities of the four aspects of the objectives of risk management. The risks of risk management. The risk analysis and risk management Most of the activity is carried on many criteria. The benefits of risk management and benefits administration areas. The success of the development And Benefits Overall, the level of interest was high. And the relationship between the activity and the level of risk management. It appears that most people feel that risk management activities are associated with benefits in terms of lower-level suggestions for further study. Should be a measure of the level of activity in the quantity to reflect actual activity rather than the opinions of people. The study is only the opinion of the respondents. It does not reflect the level of activity and the benefits are real.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ธนรัตน์ แต้วัฒนา. (2550). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
นฤมล สอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.
สมชาย ไตรรัตนภิรมย์. (2549). เอกสารประกอบการบรรยายการบริหารความเสี่ยง.
นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). แนวทางการตรวจสอบการดำเนินงานของ
สถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
อังสนา ศรีประเสริฐ. (2553). การบริหารความเสี่ยงกับงานตรวจสอบภายใน. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 30(1): 151 – 161.