การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์

Main Article Content

พิชญา วัฒนะรังสรรค์
ชลวิช สุธัญญารักษ์

Abstract

                  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม ศึกษาหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์ โดยใช้แบบสอบถามกับพนักงานโรงแรมจำนวน 218 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงแรมจำนวน 3 คน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 1) ด้านการให้บริการควรมีการมอบอำนาจการตัดสินใจและวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องความผิดพลาดในการทำงานอย่างเป็นระบบ 2) ด้านการทำงานให้บรรลุเป้าหมายควรมีการตั้งเป้าหมายในการทำงานให้มีความชัดเจนและถ่ายทอดเป้าหมายนั้นไปยังพนักงานทุกคนอย่างเหมาะสม และ 3) ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานควรปรับปรุงวิธีการทำงานให้พนักงานแต่ละตำแหน่งสามารถทำงานทดแทนกันได้ ส่วนปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมมี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาการให้บริการของพนักงานต่อความต้องการของลูกค้า 2) ปัญหาตำแหน่งความรับผิดชอบของพนักงาน 3) ปัญหาทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ และ 4) ปัญหาการรับพนักงานใหม่และนักศึกษาฝึกงาน

 

                  The objectives of this research were to study the performance efficiency level of employees in a 4-star hotel in Siam Square area and investigate methods to improve the performance, as well as obstacles and recommendations to address the problems. 218 questionnaires for employees and interviews with 3 executive officers were analyzed to obtain necessary information. Employee’s performance efficiency level was revealed to be high. Based on obtained information, the approaches to improve the performance efficiency were summarized as followed: 1) provide authoritative power to promote division of labor and systematically analyze the causes and establishing appropriate solutions and 2) set clear organizational objectives and appropriately assign responsibilities to employees and 3) develop capacity building for employees, allowing them to fill vacant positions when necessary. The obstacles related to employees were in areas as followed: 1) services in response to customer needs 2) employee’s responsibility 3) foreign language communication skills and 4) hiring process of new employees and interns.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ขวัญอิสรา นัยวินิจ. (2554). แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรในอุตสาหกรรมโรงแรม: เขตจังหวัด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปิยนุช เกาะกลาง. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมบูติคแห่งหนึ่ง

ในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา

การศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ, 11 พฤศจิกายน 2557.

https://bongkotsakorn.wordpress.com/2013/06/06/เทคนิคการทำงานให้ประสบ

ความสำเร็จ

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิด และทฤษฎี พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัศวินี ไชยวุฒิ. (2551). ความพึงพอใจในงานของพนักงานแผนกบริการส่วนหน้าโรงแรม ในจังหวัด

เชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานนท์ วงษ์เชียง และสุรีย์ เข็มทอง. (2555). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโรงแรมขนาดกลาง

และขนาดย่อมในเขตหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, วารสารการจัดการสมัยใหม่, 10 (1), 107-118.