การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี จำแนกตามตำแหน่ง เพศ สถานภาพการสมรส วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สังกัด และขนาดของโรงเรียน 3)ศึกษาข้อเสนอแนะการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหาร และครู ปีการศึกษา 2557 จำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพและมีค่าความเชื่อมั่น 0.978
ผลการวิจัย พบว่า1. การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านสภาพแวดล้อม ส่วนอันดับสุดท้าย ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและองค์กรเอกชน 2. การเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา สถานภาพสมรส และขนาดโรงเรียน ให้ระดับการปฏิบัติส่งเสริมนิสัยรักการอ่านทั้งในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามเพศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ให้ระดับการปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. วิเคราะห์เนื้อหา จากประเด็นการจัดกลุ่มสนทนา เกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาควรจัดกิจกรรมในการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กมีการเรียนรู้ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระผู้บริหารควรกระตุ้นส่งเสริม ให้ครู และบูรณาการกิจกรรม
This research aims to: 1) to promote the habit of reading the opinions of the administrators and teachers in the area of education Sara 2) To promote a habit of reading in the opinion of management. and teachers under the Saraburi Primary Educational Service Area Office. Classified by gender, marital status, educational background, work experience. Office of Elementary affiliations. And school size.3) Study recommendations to promote the habit of reading the opinions of the administrators and teachers under the Saraburi Primary Educational Service Area The samples consisted of administrators and teachers year 2557 ,348 people using the questionnaire was use the collect data experts to determine the quality and reliability 0.978. The results showed that
1. To promote a habit of reading in schools under the Saraburi Primary Educational Service Area Office. In the overall level. When considering the promotion of the Sort descending including 3 top executives. The teaching process And the environment In last Relationship with the community and Organizations.
2. To compare the performance of a habit of reading in schools under the Saraburi Primary Educational Service Area Office. By location A practical level , Education, Marital status, Size of the school to promote a love of reading in both overall and in the field. Differences are statistically significant at the .05 level. When classified by gender. To the performance of the reading habit. Both overall and in the field. No difference, Office of Education, work experience
3. Content Analysis (Content analysis) on the solid group discussions. About the issues and recommendations to promote a habit of reading in schools under the Saraburi Primary Educational Service Area Office.. Summarized as follows:
Should be organized to promote reading to children with learning all 8 groups. Teachers and administrators should encourage integration of activities
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กานต์มณี ศักดิ์เจริญ. (2546). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). หนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ไพพรรณ อินทนิล. (2546). การส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แม้นมาส ชวลิต. (2544). แนวทางการส่งเสริมการอ่าน (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคสพับลิเคชันส์.
ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2553). วิทยาการวิจัย. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. (2557). สรุปข้อมูลพื้นฐานสารสนเทศ. สืบค้น มิถุนายน 10, 2557, จาก http://saraburii.go.th/school/aoc.
Jones, J. J., et al. (1969). Secondary school administration. New York: McGraw –Hill.
Kaiser. S.M. (2003). Mapping the Learning Organization : Exploring a Model of Organizational Learning. Ph.D. Dissertation, Louisiana State University. U.S.A.
Laschinger, H. K. S., Wong, C., McMabon, L., & Kaufmann, C. (1999). Leader behavior impact on staff nurse empowerment, job tension, and work effectiveness. Journal of nursing administration, 29(5), 28–39.
Sergiovanni, T.J. et al. (1999). Education governance and administration. New York: Prentice-Hall.
Smith, Carl B., & Harris, Larry A. (1976). Reading instruction: diagnostic teaching in the classroom. New York: Prentice-Hall.