ปัจจัยทางการตลาดกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของชาวพม่าในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบลักษณะทางประชากรของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทยาสีฟันชาวพม่าในประเทศไทย 2) เพื่อทราบข้อมูลพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของชาวพม่าในประเทศไทยข้อมูลประชากร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลกับการเลือกซื้อยาสีฟันของชาวพม่าในประเทศไทยเปรียบเทียบโดยลักษณะทางประชากร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวพม่าจำนวน 400 คน ผลงานวิจัยพบว่า พบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวพม่าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุระหว่าง 15-25 ปี โดยมีทั้งที่ยังโสดและแต่งงานแล้ว ประกอบอาชีพรับจ้าง มีการศึกษาระดับต่ำว่ามัธยมต้น อยู่ในประเทศไทยระหว่าง 1-5 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ยาสีฟันที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ คอลเกต เลือกการใช้ยาสีฟันเพื่อฟันขาว โดยส่วนใหญ่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ และนิยมซื้อขนาดบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก ด้านปัจจัยการตลาดกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของชาวพม่าในประเทศไทยเปรียบเทียบโดยลักษณะประชากร พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในประเทศไทย การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน ไม่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยการตลาดแตกต่างกัน ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน
This research aims to 1) study the demographic of Burmese toothpaste consumer in Thailand 2) explore toothpaste purchasing behavior of Burmese consumers 3) seek knowledge on marketing factors affecting decision to purchase toothpaste judging from demographic data. The sample group were 400 Burmese.
The research findings indicated that majority of samples were female, ranged in age from 15-25 years, both single and marriage, making livelihood doing labor work , finished school lower than Secondary School, and resided in Thailand from 1 to 5 years , earned monthly average income 10,001-15,000 Baht. The most popular toothpaste purchased is Colgate toothpaste to make their teeth white. Majority bought small size toothpaste from the convenience store.
As for marketing factors impacting decision to buy toothpaste, taking demographic data into account, the outcomes revealed that the differences in gender, age, marital status, occupations, years of residing in Thailand, educational levels and monthly earnings had no influenced on marketing factors when buyer selecting toothpaste.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ปวริศา จงอานุภาพ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
วิไลวรรณ พ่อค้าช้าง และคณะ. (2553), ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
สมสุข ไชยศรี. (2554). วิถีชีวิตและพฤติกรรมชาวพม่าที่อาศัยในเขตอำเภอท้ายเหมืองจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
สุนทรี ยี่ร้า (2554). การปรับตัวทางสังคมของแรงงานชาวพม่าในเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
Kotler Philip. (2000). Marketing Management. (The Millennium Edition). New Jersey: Prentice Hall, Inc.