การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

กัลยา พรมรัตน์

Abstract

             การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) สภาพ และปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และ 2) แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 วิธีดำเนินการวิจัย  ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ และปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 133 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหา   

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหา  ด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านการส่งเสริมนักเรียน 2) ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน และ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยรายการปฏิบัติ จำนวน 31 รายการ ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 7 รายการ ด้านการคัดกรองนักเรียน 6 รายการ ด้านการส่งเสริมนักเรียน 8 รายการ ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา 5 รายการ ด้านการส่งต่อนักเรียน 5 รายการ 

 

           This research aimed to study 1) states and problems of student care and support operation system of schools and 2) solution guidelines of student care and support operation system of schools under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1. The first step of research methodology was to study states and problems of student care and support operation system.  The samples were 133 teachers who were in charge of guidance selected by simple random sampling.  The tool was a five-rating scale questionnaire. The data were analyzed by mean and standard deviation. The second step was to study solution guidelines of student care and support operation system. The samples consisted of 5 experts selected by purposive random sampling. The tool was an interviewing form and the data were analyzed by the content analysis.

            The findings indicated that : 1) as a whole, the states of student care and support operation system were implemented at a high level by ranking from the highest to the lowest as follows: knowing individual students, filtering students, prevention, helping and solution, transferring students, and supporting students; 2) as a whole, the problems of student care and support operation system were at a low level by ranking from the highest to the lowest as follows: prevention, helping and solution, transferring students, filtering students, and knowing individual students and 3) the solution guidelines of student care and support operation system consisted of 31 operative items: 7 items of knowing individual students, 6 items of filtering students, 8 items of supporting students, 5 items of prevention, helping and solution and 5 items of transferring students.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

ประสงค์ รุ่นใหม่. (2550). ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ช่วงชั้นที่ 3 - 4 ของครูที่ปรึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 1 - 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พัชราภรณ์ เดชสุภา. (2551). ปัญหาการดำเนินงานจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียน ประถมศึกษาในเขตอำเภอคลองหาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

มธุรดา ดวงจันทร์. (2553). สภาพและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน

วัดไทยาวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2.

งานนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ษมาภรณ์ สายวงศ์ปัญญา. (2548). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สุทธิรัตน์ หัตถกิจ. (2552). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.