ระดับการคุกคามทางเพศต่อวัยรุ่นหญิงผ่านพื้นที่เสมือนจริง

Main Article Content

อนุกูล มโนชัย
ดุษฎี อายุวัฒน์
ชูพักตร์ สุทธิสา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  ระดับการคุกคามทางเพศต่อวัยรุ่นหญิงผ่านพื้นที่เสมือนจริง ศึกษาในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ ด้วยแบบสัมภาษณ์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2553 จำนวน 377 คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรเดียว ใช้สถิติอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลสองตัวแปร โดยการวิเคราะห์ตารางไขว้ และใช้สถิติไค-สแคว์ และการวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร  โดยการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์

            ผลการวิจัย พบว่า การถูกคุกคามทางเพศด้านวาจา การมองเห็น ส่วนมากอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 52.5 ในขณะที่วัยรุ่นหญิงที่ไม่ถูกคุกคามทางเพศ มีเพียงร้อยละ 29.7  การถูกคุกคามทางเพศด้านร่างกาย อยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.3 ในขณะที่วัยรุ่นหญิงที่ไม่ถูกคุกคามทางเพศ คิดเป็นร้อยละ 97.1 การถูกคุกคามทางเพศโดยรวม ส่วนมากอยู่ในระดับน้อย คิดเป็น    ร้อยละ 56.8 ในขณะที่วัยรุ่นหญิงที่ไม่ถูกคุกคามทางเพศ คิดเป็นร้อยละ 29.7  

 

              The objectives of this study are as follow to examine the degree of threats to female adolescents in virtual space interactions This study took place in Khon Kaen. It was a qualitative analysis. The interviewing method was used for the data collection. Three hundred seventy seven (377) female students were interviewed, and during the year of 2010 they were studying in the 10th -12th grades. The analysis software program was used to analyze the data—using variable, simple statistics, two data variables, cross tabulation, Chi-Square tests, and many variables to see the relationship of the data.

               The research found that  52.5 % of sexual harassment was determined from the use words and was considered as low level. Meanwhile, 29.7 % of female teens in the study were not sexually abused. The number of female teens who were sexually abused was 1.3%, and this percentage was also considered as a low level. The percentage of the girls who were not sexually harassed was 97.1%. The overall percentage of sexual harassment was at a low level of approximately 56.8 %. While the percentage for female teenagers who were not sexually abused was 29.7 %. 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

จิรชา เถาทอง. 2542. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตของบุคลากรในมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บัณฑิต ผ่องฉาย. 2543. พฤติกรรมการใช้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารบัณฑิตธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนา จันทร์เทา และ วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. 2548. การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวชนบทอีสาน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณวิมล สุรินทร์ศักดิ์ 2546. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานของวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณี เจริญทรัพยานันท์. 2543. พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการอินเตอร์เน็ตในเขต

กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภักษร ปรีดาสุทธิจิตต์. 2545 .พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. [ม.ป.ท.]: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย. 2550. สถิติผู้จดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า. กรุงเทพฯ: สำนักทะเบียนกลาง. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2551. รายงานเครื่องชี้วัดภาวะสังคมไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

. 2552. การสำรวจเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

อรอุมา ศรีสุทธิพันธ์. 2543. ความคิดเห็นและพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออินเตอร์เน็ตกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์สื่อสารมวลชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุษาพรรณ ศรีสกุลประเสริฐ. (2545). ปัจจัยในการใช้สื่อและความพึงพอใจต่อสื่ออินเตอร์เน็ต. [ม.ป.ท.]: มหาวิทยาลัยวไลอลงกรณ์.

Ben-Ze’ve, A. 2003. Privacy, Emotional Closeness, and Openness in Cyberspace. Computer in Human Behavior 19. Retrieved December 2, 2009, from http://www.elsevier.com/locate/comphumbeh.

Coopersmith, S. 1981. The Antecedent of Self-Esteem. 2nded. California: Consulting Psychologist Press, Inc.

Holmes, D. 2005. Communication Theory Media, Technology, Society. India: TJ International, Padstow, cornwall.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. 1970) Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychology Measurement, 30(2), 607-610.

Light, J., & Doucet, H.E. 1995. Sexual Harassment in the Workplace, A Guide to Prevention. California: USA.