รูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชน 2) เพื่อศึกษารูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชน และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่บริษัทที่เป็นองค์กรแห่งความสุขต้นแบบของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 30 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง นำมาวิเคราะห์สถานการณ์เพื่ออธิบายสมรรถนะผู้นำและรูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชนโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้การอภิปรายกลุ่มย่อยโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ในการประเมินและรับรองรูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชน
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชนมี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบธรรมชาติผู้นำ มีอัตลักษณ์คือ ผู้นำสูงสุดเป็นเจ้าของกิจการและเป็นศูนย์กลางองค์กร สไตล์การนำแบบธรรมชาติร่วมทุกข์ร่วมสุข คุณธรรมและจริยธรรมเข้มแข็ง เรียนรู้และพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง 2) รูปแบบผู้นำสร้างขึ้น มีอัตลักษณ์คือ ผู้นำสูงสุดและผู้นำระดับรองเป็นเจ้าของกิจการ เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้นำระดับรองเป็นประธานโครงการองค์กรแห่งความสุข และนำแนวคิดองค์กรแห่งความสุขผสมผสานวัฒนธรรมเดิม นิยมจัดทำภูมิทัศน์และสร้างวัตถุสถาน 3) รูปแบบมอบหมายผู้นำ มีอัตลักษณ์คือ ผู้นำสูงสุดเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มอบหมายผู้บริหารระดับกลางเป็นหัวหน้าโครงการ ใช้แนวคิดองค์กรแห่งความสุขผสมผสานวัฒนธรรมเดิม พยายามเรียนแบบ และ 4) รูปแบบนโยบายผู้นำสูงสุด มีอัตลักษณ์คือ เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ใช้โนฮาวร์ในการผลิต ผลิตเป็นจำนวนมาก เป็นสินค้าเทคโนโลยีและมีราคาแพง ผู้นำสูงสุดเป็นผู้บริหารชาวต่างชาติมืออาชีพ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์บริหารองค์กรตามโครงสร้างนโยบายและประยุกต์เข้ากับแนวคิดองค์กรแห่งความสุข ผลการประเมินรูปแบบพบว่าทั้ง 4 รูปแบบมีความสอดคล้องกับกลุ่มบริบทและองคาพยพองค์กรแห่งความสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด สำหรับการรับรองรูปแบบพบว่า รูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชนแบบธรรมชาติผู้นำ เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาสมรรถนะผู้นำและองค์กร
The purposes of this qualitative research were 1) to study the leaders’ competency in happy workplace of private organizations, 2) to study the model of leaders’ competency in happy workplace of private organizations and 3) to evaluate the model of leaders’ competency in happy workplace of private organizations. The population and sample group were composed of 30 companies supported by Thai Health Promotion Foundation. In-depth interview was the research tool for data collection. These data were carried out for situation analysis in order to describe both leaders’ competency and model of leaders’ competency under content analysis method. Final stage the 7 experts were invited for focus group discussion to evaluate and validate the model of leaders’ competency.
The results revealed that 4 models of leaders’ competency in happy workplace were found: 1) Nature leader model; Identity: the highest leaders were the business owner and organization center, nature leading style involved both happiness and hardship, strong moral and ethics, learning and continuous development; 2) Built-in leader model; Identity: the highest and second leaders were the owners, project supported by Thai Health Promotion Foundation, the 2nd leader was appointed as project president, applied happy workplace concept with a mixture of previous culture; 3) Assigned leader model; Identity: the highest leaders were the business owner or chief executive, project supported by Thai Health Promotion Foundation, assigned mid-level manager to lead the project, applied happy workplace concept with a mixture of previous culture and 4) top leader policy model; Identity: large companies, know-how and mass production, top leaders were a professional foreigner, human resources managers managed the organization based on policy while applied happy workplace concept. According to assessment, all four models found evaluation was in accordance with current happy workplace and Nature leader was verified as the model most suitable for use as a master model to develop the competency of leaders and organizations.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2556). แนวคิดการสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace). เอกสารนำเสนองาน (Power point presentation).
จำนง เรืองกุน. (2555). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้หลักสมรรถนะ: ประสบการณ์จาก บริษัทชั้นนำ. วารสารวิทยาการจัดการ, 29 (2) หน้า 111 – 127.
ฐิติ บุญประกอบ. (2556). Human Development: ค้นหาผู้ที่จะเป็นผู้บริหาร. วารสาร TPA News, 17 หน้า38-39.
ดุษฎีรัตน์ โกสุมภ์สิริ. (2558). ภาวะผู้นำแบบดุลภาพ: ภาวะผู้นำศตวรรษที่ 21. [บทความ]. เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2558. จาก: http://leader1234.blogspot.com/2015/09/21-scholarly-article-equilibrium.html
ดวงเนตร ธรรมกุล. (2555). การสร้างสุขภาวะในองค์กร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1 หน้า 1-10.
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2552). ภาวะผู้นำเพื่อองค์กรที่มีประสิทธิภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 4 หน้า 141-146.
ประนอม สุขสวัสดิ์. (2556). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการสื่อสารของผู้นำในองค์การของของธุรกิจรับเหมาบริการขนาดกลางและขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ประเวศ วะสี. (2552). แนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศ สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ คือรากฐานของความร่มเย็นเป็นสุข ชุดปฏิรูปประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนแห่งชาติ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: ที คิว พี.
ปารดา บัณฑูรนิพิท. (2555). การบริหารคนอย่างมีนวัตกรรม. วารสารผู้บริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 1 หน้า 172-176.
มณฑิรา อินจ่าย และเฉลิมชัย ปัญญาดี. (2556). ผู้นำในภาวะผู้ตาม: พหุกรณีศึกษาจากผู้บริหารสมรรถนะสูงขององค์การธุรกิจไทย. วารสารมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร, หน้า 47-58.
มยุรี เสือคำราม และสมศักดิ์ ลิลา. (2555). เศรษฐกิจพอเพียง: ศาสตร์แห่งการพัฒนา. วารสารผู้บริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 3 หน้า 41-47.
วิชัย อุตสาหกิจ และจุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2556). องค์การแห่งความสุขกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 53 หน้า 67-102.
วิษณุ เครืองาม. (2555). เล่าเรื่องผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: มติชน.
วรเทพ ภูมิภักดีพรรณ. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง (HAPPINOMETER). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: ธรรมดาเพรส.
ศรัญญา กิตติวัฒนโชติ. (2557). ภาพสะท้อนอัตลักษณ์ส่วนบุคคลผ่านงานเขียน กรณีศึกษาคุณวิกรม กรมดิษฐ์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อภิชัย พันธเสน. (2555). การบริหารองค์กรเพื่อความสุขและประโยชน์สุข. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1 (1) หน้า 1-5.
Bello, Shukurat Moronke. (2012). Impact of Ethical Leadership on Employee Job Performance. International Journal of Business and Social Science, 3 page 228-236.
Bond, Cheryl A. (2007). Leadership Training, Leadership Style and Organizational Effectiveness. Doctor of Education Dissertation, School of Education, Boston University.
K. Manoj Sharma and Shilpa Jain. (2013). Leadership Management: Principle, Models and Theories. Global Journal of Management and Business Studies, 3 (3) page 309-317.