กระบวนการต่อสู้ต่อความเชื่อทางสังคมของคนพิการ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการต่อสู้ต่อความเชื่อทางสังคมที่มีต่อคนพิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คนพิการ ทั่วไปที่อาศัยในประเทศไทย และเป็นคนไทย ประกอบไปด้วยกลุ่มของคนตาบอด คนพิการหูหนวก คนพิการทางกาย และคนพิการซ้ำซ้อน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อทางสังคมที่มีต่อคนพิการนั้นเป็นวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบริบท แต่ในสังคมไทยนั้นยังมีความเชื่อว่าคนพิการส่วนใหญ่มีความสามารถที่ไม่เท่าเทียมกับคนปกติ และไม่สามารถ ที่จะเป็นผู้นำคนปกติได้ การให้โอกาสคนพิการยังตั้งอยู่พื้นฐานของความสงสาร นอกจากนี้หน่วยงานที่ให้โอกาสผู้พิการจะถูกสร้างความหมายใหม่ว่าเป็นหน่วยงานที่เปิดกว้าง เป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กร แต่คนพิการยังถูกเบียดขับไม่ให้แสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งการบริหารและสั่งการได้ คนพิการถูกจัดวางให้อยู่ในระดับสัญลักษณ์ของหน่วยงานและยังไม่สามารถสร้างความหมายให้กับตนเองได้ภายใต้บริบทนั้นได้
This research focuses on the social beliefs towards disable people. The study was aimed studying the processes of disable people fighting towards the social beliefs. The sample used in this study were generally people with disabilities who live in Thailand and Thai people consists of a group of blind, deaf and physical disabilities as the disable people 5 subjects were used in this study. The instrument were used in this study are the Guidelines for interviews and the Guidelines for observation. The finding showed that social beliefs towards disable people was a culture that vary according to each context. In Thai society also believes that most disable people have the ability to not equal than normal people and unable to lead normal people. The opportunity of disable people set on compassion. In addition, the organization who gave the opportunity for disable people have to be a new meaning that the best organization. However, the disable people to be marginalization and not to demonstrate the ability to fully. The disable people were set up at the symbols and cannot construct their own meaning under that context.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2546). รอบรู้เรื่องคนพิการ. กรุงเทพมหานคร : เทพเพ็ญวานิสย์.
_______. (2547). บริการสำหรับคนพิการ. มปท.
_______. (2547). รายงานสถานการณ์ทางสังคมความก้าวหน้าการพัฒนา “คนพิการ” 2547. มปท.
_______. (2548). การศึกษาและพัฒนาดัชนีชี้วัดมาตรฐานความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
เจน จูประเสริฐ. (2546). ปัญหาที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของคนพิการในภาครัฐ. วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรายุธ การะเกตุ. (2545). ปัญหาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านอาชีพและการจ้างงาน ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2542). สถานภาพของคนพิการไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
Woodill,G. (1992). Independent living and participation in research : A critical analysis. Discussion paper. Toronto : Center for Independent Living.