ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าในจังหวัดน่าน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะการบุกรุกและเหตุผลในการบุกรุกทำลายป่าในจังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าในจังหวัดน่าน และ 3. เพื่อหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่าในจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการทำกิจกรรมกลุ่ม ประชากร ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดน่าน จำนวน 153,061 ครัวเรือน ทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 อำเภอๆละ 1 ตำบลๆละ 3 หมู่บ้านๆละ 20-30 คน รวม 229 คน
ผลการวิจัย พบดังนี้
- ลักษณะการบุกรุกทำลายป่า คือ การแผ้วถางและเผาป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด ฝ้าย แตงไทย รวมถึงยางพารา สัก และไม้ยืนต้นอื่นๆ เหตุผลในการบุกรุกทำลายป่า คือ เพื่อใช้เป็นที่ทำกิน ในครอบครัว เพื่อจำหน่าย และการตั้งถิ่นฐานใหม่
- ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าในจังหวัดน่าน เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ การปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ นโยบายของรัฐ กับกฎระเบียบของหมู่บ้าน
- แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่าในจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยการทำงานของภาคส่วนสำคัญไปพร้อมกัน คือ 1. ภาครัฐ เช่น การกระจายอำนาจ การบังคับใช้กฎหมาย การจัดหาแหล่งน้ำ 2. ภาคเอกชน เช่น มองเป็นปัญหาส่วนรวม การส่งเสริมอาชีพ 3. ภาคประชาชน เช่น มีจิตสำนึก มีความรู้ฯ การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
The objectives of this research were 1. to study the appearance and reasons for forest encroachment in Nan province, 2. to study the factors contributing to the prevention of forest encroachment in Nan Province and 3. investigate out guidelines for the prevention of forest encroachment in Nan Province and sustainable solving the problems. The study was a qualitative research by the group activities. The population were 153,061 households in Nan Province. The samples were three districts, in each district sampled one tambon, each tambon sampled 3 villages, and each village sampled 20-30 people, including 229 people.
The results revealed that
- The appearance for forest encroachment are clearing and burning of forests to grow economic crops such as cotton, corn, cantaloupe, rubber tree teak and other perennials. Reasons of forest encroachment are to use a family farm, to sell and evacuated settlers
- The factors contributing to the prevention of forest encroachment in Nan province in order of priority are Compliance with the Philosophy of Sufficiency Economy, A better understanding of forest conservation and compliance with laws, regulations, policy of the state and regulations village.
- The guidelines for the prevention and tackle forest encroachment in the Nan province sustainable are 1. the government, such as decentralization, law enforcement and supply water source, 2. the private sector is seen as a whole and encourage career 3. the people, awareness and knowledge about forest conservation and compliance with the Philosophy of Sufficiency Economy.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมป่าไม้. 2550. จำนวนและเนื้อที่ป่าสงวนแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557. จาก http://forest.go.th/stat.htm
ธวัชชัย ไตรทิพย์. (2551). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผู้นำสิ่งแวดล้อมชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. เชียงใหม่ : สิริลักษณ์การพิมพ์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ไพโรจน์ โลกนิยมและคณะ. (2550). มาตรการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตพื้นที่ป่าไม้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (2557). สถานการณ์ป่าไม้ไทย. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2557. จาก www.seub.or.th
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา. (2557). สถานการณ์ป่าไม้ของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2557. จาก http://wbc.msu.ac.th/ge/0299101/suphab/forest-04.html.
สมภาร จันทะวงศ์. (2551). บทบาทของชุมชนในการจัดการป่าไม้ : กรณีศึกษาป่าโสกชัน ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน.(2557). ข้อมูลการการเพาะปลูก ปี 2556-2557. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558. จาก http://www.nan.doae.go.th
สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้. (2557). ข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2556 – 2557. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558. จาก http://www.forest.go.th/fl_mgt/index.php?option=com_ content&view =category &layout=blog&id=53&Itemid=499&lang=th
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมตามรอยยุคลบาท. กรุงเทพฯ : สุทธาการพิมพ์.
Chambers, Robert. (1983). Rural Development: Putting The Last First. Essex: Longman.
Usher, Ann Danaiya. (2009). Thai forestry: a critical history. Chiang Mai: Silkworm