การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

สัจจะพร วิริยะจรรยา
ผศ.ดร.สรรฤดี ดีปู่
ดร.สมเกียรติ ทานอก

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการที่พึงประสงค์ และ 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการที่จำเป็นต้องพัฒนาของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ 2) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการที่จำเป็นต้องพัฒนาของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา จำนวน 245 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน มี 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (X= 4.24, S.D. = 0.31) ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรก พบว่า ด้านการพัฒนาสนับสนุน ส่งเสริมบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของโรงเรียน และด้านการเสริมสร้างบรรยากาศและสนับสนุนทรัพยากรการเรียนรู้ ตามลำดับ  และ 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา ที่จำเป็นต้องพัฒนา ดังนี้ 2.1) ด้านกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของโรงเรียน ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของโรงเรียน 2.2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ ควรมีการนิเทศติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ 2.3) ด้านการพัฒนา สนับสนุนส่งเสริมบุคลากร  ควรจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานทางวิชาการภายในโรงเรียน 2.4) ด้านการนิเทศ การวัดประเมินผลการจัดการศึกษา ควรพัฒนาเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับครูหลังการนิเทศและสังเกตการสอน และ 2.5) ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศและสนับสนุนทรัพยากรการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสให้ชุมชน องค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการศึกษา

 

             This research aimed to study the desirable academic leadership and study the academic leadership that need to be developed for small-size school administrators of Primary Educational Service Area Office in Nakhon Ratchasima Province. The research consisted of 2 phases : 1) studying and analyzing data of desirable academic leadership factors from documents, textbooks, management methods and theories as well as structured interviews with 9 experts were undertaken. 2) studying and analyzing data of academic leadership in small-size school administrators of Primary Educational Service Area Office in Nakhon Ratchasima Province that need to be developed. The research data were collected by using the questionnaires.  The data analysis is use content and basic statistics is percentage, mean and standard deviation.

             Result of the study; 1. The 5 aspects of the desirable academic leadership were : 4 behaviors of school vision obligation and goal setting aspect, 11 behaviors of curriculum administration and learning management, 10 behaviors of develop support and personnel promoting, 8 behaviors of supervisions and learning management assessment and 7 behaviors of reinforce the atmosphere and material supporting for learning.  All domains were practiced in a high level when considered both in general and in each particular aspect. ( = 4.24, S.D. = 0.31)  and 2) The academic leadership for small-size school administrators of Primary

              Educational Service Area Office in Nakhon Ratchasima Province that need to be developed revealed; 2.1) the school vision obligation and goal setting aspect needs to develop by creating an opportunity for community to participate in specify the school’s vision obligation and goal setting.  2.2) the curriculum and learning management need to be developed by supervision the curriculum implementation.  2.3) the develop support and personnel promoting need to be developed by hold a meeting, knowledge management and also exchange academic’s exhibition within school.  2.4) the supervision and learning management assessment need to be developed by giving feedback after supervision and teaching observation and 2.5) the reinforce the atmosphere and material supporting for learning need to be developed by creating an opportunity for stakeholders and community to support and promote in school.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ดาราวรรณ สุขคันธรักษ์ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2557). “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการบริหารงาน

วิชาการ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่ประชาคมอาเซียน.” วารสาร Veridian E-Journal กลุ่ม

มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. Vol.7 No. 1 (January – April 2014): หน้า.229 – 244.

ธีระ รุญเจริญ. (2556). วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา. “วิกฤติและทางออกในการบริหารและจัดการศึกษา”

(ไทย). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. มกราคม-เมษายน 2556. ปีที่1 ฉ.1

ประเสริฐ จั่นแก้ว. (2551). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 ปีการศึกษา 2550. สำนักเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

รุ่ง แก้วแดง. (2545). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษา : ผู้บริหาร (การศึกษา)มือ

อาชีพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2521). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.

สานิตย์ บุญชุ. (2527). การพัฒนาชุมชน : การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2557. “ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องเร่งรัดแก้ไข” (n.d.). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา

www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/posts/787389251302068

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2542). การจัดระบบใบอนุญาตประกอบอาชีพผู้บริหารการศึกษา.

กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550) ก. แนวทางการการกระจายอำนาจการบริหารและการ

จัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง

กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). คู่มือการประเมินคุณภาพ

ภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทจุดทอง จำกัด.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School Based Management.

กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie, R.V. and E. W. Morgan. (1970). Educational and psychological measurement. New

Jersey : Prentice-Hall.

Krug. S. (1993). Leadership craft and the crafting of school leaders. Phi Delta Kappa, 240-

Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization : A System Approach to

Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill, Inc.