การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลบาละและตำบลกาบัง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบาละและตำบลกาบัง (อบต.บาละ และ อบต.กาบัง) อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และ ระดับการศึกษา และ 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากแบบสอบถามประชาชนในเขตพื้นที่ อบต. บาละ และ อบต.กาบัง 1,060คน ได้รับกลับคืน 1,051 คน (99.15% ของกลุ่มตัวอย่าง) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ One-sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว และการทดสอบภายหลังโดยวิธีของเชฟเฟ่ และ การวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) โดยรวมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น อยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (P<.05); 2) สถานภาพส่วนบุคคล (เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และ ระดับการศึกษา) มีผลทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนแตกต่างกัน (P<.05); 3) มี 3 องค์ประกอบสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของ อบต.บาละ และ อบต.กาบัง ที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนคือ (3.1) การวัดประเมินผลและร่วมเป็นกรรมการประเมินผลโครงการต่างๆ (3.2) การเลือกรูปแบบและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของ อบต. และ (3.3) การเพิ่มรายได้และได้รับผล ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของประชาชน
The purpose of this study was threefold: First, to examine participatinal level of people in term of local development of Bala and Gabung Sub-district Administrative Organizations (Bala & Gabung SAO) at Gabung District, Yala Province; Second, to compare participational level of people in term of local development with gender, occupation, incomes, and educational level; and Third, to analyze crucial factors of people in term of local development. A set of 1,060 questionnaires, 1,051 returned (99.15% of sample) was applied. These statistics were analyzed: frequency, percentage, mean, standard deviation, one-sample t-test, one-way MANOVA and Post Hoc.test by Scheffe, and factor analysis. Research findings were as follows: 1) A whole of participation of people in term of local development was at high level when comparing with the established criteria (P<.05); 2) Status of people (gender, aging, occupation, incomes, and educational level) made the participation of people different at the .05 level; 3) There were 3 aspects as crucial components in terms of local development at Bala & Gabung SAO, which have to operate immediately, namely (3.1) Measurement, Evaluation, and Participants as committees for evaluating projects, (3.2) Selecting patterns and Ranking priorities of crucial problems of SAO, and Increasing incomes and benefits from participation in local development of people.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ถวิลวดี บุรีกุล. (2545). “การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ” เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา, อังคารที่ 17 มิถุนายน 2551 ณ สถาบันพระปกเกล้า.
นรา ศรีวงษา. (2557). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตาบล โคกสว่าง อาเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด”, วารสารการเมืองการปกครอง กิจการสาธารณะ. 4, 2 (มีนาคม-สิงหาคม): 296.
นรินทร์ ชัยพัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และ กรณีตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร: 598 Print
ปิยะนุช เงินคล้าย และ พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์. (2542). “การประเมินประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,” วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ฉบับพิเศษ, 2545.
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รจนา น้อยปลูก. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง, งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต (การบริหารท้องถิ่น) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555–2559), สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?Ta bid= 395 สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2558.
สำเริง เพ็ชรนพรัตน์. (2555). การบริหาร การพัฒนา และ การมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ในองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จังหวัดปทุมธานี องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. ดุษฎีนิพนธ์สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Hill, D.M. (1974). Democratic theory and local government, London: George Allen and Unwin.
Schmandt, Henry J. (1972). “Municipal decentralization: An overview,” Public Adminstration Review, 32 (October): 571-588.
Smith, B.C. (1985). Decentralization: The territorial dimension of the State. London: George Allen and Unwin.
Suwanmala, Charas. (1991). Central control and local productivity: A case study in Thailand. Dissertation for Ph.D. program in Political Science, DeKalb, Illinois: Northern Illinois University. Available from ProQuest Dissertations and Theses; 1991; ProQuest Dissertations & Theses Global: Social Sciences.