การศึกษาแบบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Main Article Content

วินัย ทองภูบาล
อรณิชชา อัครพิชากุล

Abstract

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแบบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 2. เปรียบเทียบแบบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การบริหารงาน ระดับการศึกษา และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 140 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Thomas – Kilmann Conflict Mode Instrument (TKI)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ส่วนใหญ่เป็นแบบการประนีประนอม รองลงมาคือแบบการหลีกเลี่ยง แบบการยอมให้ แบบการเอาชนะ และแบบการร่วมมือตามลำดับ โดยส่วนใหญ่มีการแสดงออกอยู่ในระดับกลาง  2. ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ที่มีเพศ ประสบการณ์การบริหารงานระดับการศึกษาและขนาดของโรงเรียนต่างกันมีแบบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              This research aimed to 1. study conflict on behavior management style of school administrators under Buriram primary educational service area 3 and 2. comparative conflicton behavior management style of school administrators under Buriram primary educational service area 3 classified by sex, work experience, qualification and school size. The sample consisted of 140 school administrators by random sampling. The research instruments were Thomas – Kilmann Conflict Mode Instrument (TKI) The frequency, percentage and chi – square test were used for data analysis. The research results were as follows 1. the conflict on behavior management style of school administrators under Buriram primary educational service area 3 by overall at the moderate level, Compromising style was first and followed by Avoiding style, Accommodating style, Competition style, and Collaborating  style and 2. school administrators under Buriram primary educational service area 3 classified by sex, work experience, qualification and school size there were significant difference conflict on behavior management style at .05 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ณัชธิญา ปัทมทัตตานนท์ (2553). การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตรอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ม.ป.ท.

. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. ม.ป.ท.

รุจิเรข มีเจริญ. (2548). ศึกษาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2. (2558). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. www.brm3.go.th/module.php.

สุนันทา เปลื้องรัตน์. (2550). ศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2534 : 104 -107) ความขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิฟเพรสจำกัด.

อาชิรญาณ์ เขียวชอุ่ม ประสาท อิศรปรีดา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. 2557. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 4 (3), 124 – 131.

Gortner, H. F. (1983). Administration in the Public Sector. New York : Willey.

Tomas, W. K. and Kilmann, H. R. (2010). Thomas – Kilmann Conflict Mode Instrument Profile and Interpretive report. www.cpp.com/pdfs/smp248248.pdf.

Worchel, S. and Cooper, J. (1983). Understanding Social Psychology. 3rd Homewood, Illinois : Dorsey Press.