บรรยากาศองค์กรและคุณลักษณะของงานที่สนับสนุนการเกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ศุตานันท์ คุขุนทด
มะดาโอะ สุหลง

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.  เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยบรรยากาศองค์กรปัจจัยคุณลักษณะของงาน และปัจจัยองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการรับรู้ปัจจัยองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 3. เพื่อศึกษาปัจจัยบรรยากาศองค์กรและปัจจัยคุณลักษณะของงานที่มีต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา  จำนวน  350 คน โดยการตอบแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย  ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสันและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

               ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นด้านบรรยากาศองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 3.84 ด้านคุณลักษณะของงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 3.85 และด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 3.9 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 11 ตัวแปร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.521-0.816 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   ด้านการมีอิทธิพลของปัจจัย พบว่า ด้านบรรยากาศองค์กรในภาพรวมมีผลต่อปัจจัยองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยทางสถิติที่ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหูคณ (R ) = 0.816  ด้านคุณลักษณะของงานมีผลต่อปัจจัยองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยทางสถิติที่ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหูคณ   (R) = 0.797

 

               This research aimed at 1. studying the atmosphere of the organization at the stinky nature of work and the organizational of  learning;  2. to compare the individual factors on theperceptions of  factors It now offered to learning and  3. studying the atmosphere and organizational factors on the characteristicsof a learning organizational of  Nakhon Ratchasima vocational education personned. The samples of the study were 350 Nakhon Ratchasima vocational education personnel. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA (F-test), Least Significant Difference (LSD), and Multiple Linear Regression at a significance level of 0.05.

                 The results of the independent study were as follows: (1) The overall opinion levels were high in the aspects of organizational climate with the mean (X) of 3.84, job characteristics with the mean (X) of 3.85, and learning organization with the mean (X) of 3.90; (2) The relationships among 11 variables showed the correlation coefficients ranging from 0.521 to 0.816 at a statistical significance level of 0.05; and (3) The influence of factors showed that the overall organization climate affected the factors of learning organization at a statistical significance level of 0.05 with multiple correlation coefficient (R) equal to 0.816 while the overall job characteristics affected the factors of learning organization at a statistical significance level of 0.05 with multiple correlation coefficient (R) equal to 0.797

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ศิระ จุลานนท์. (2551). แบบภาวะผู้ตามของข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร ชั้นยศพันตรีหรือเทียบเท่าและ ต่ำกว่าในสำนักนโยบายและแผนกลาโหม. ชลบุรี: ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ ( พ.ศ.2545 - 2559). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุพัตรา เพชรมุนี และเชี่ยวชาญ อาศุวัฒนกูล. (2528). ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนากำลังคนในระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

รติกรณ์ จงวิศาล. (2554). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Kelley, R . E. (1992). The Power of Followership : How to create leaders people want to follow and followers who lead themselves. New York: Doubleday

Hackman, J. R. On the coming demise of job enrichment. In E. L. Cass and F. G. Zimmer (Eds.), Man and work in society, New York: Van Nostrand-Reinhold, 1975.